อเมริกากับปัญหาความล้มเหลวทางด้านกลยุทธ์

เราพยายามที่จะตอบคำถามที่ว่าอะไรคือเครื่องหมายของความล้มเหลวของอเมริกาในประเทศต่างๆ ที่จะได้กล่าวถึงนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง การจัดหมวดหมู่ของประเทศเหล่านี้ เราจะมาพูดถึงลักษณะของความล้มเหลวในนโยบายต่างๆ ของอเมริกาในประเทศเหล่านี้

       อัฟกานิสถาน อิรัก ซีเรีย ปากีสถานและล่าสุดนี้ยูเครน คือส่วนหนึ่งจากเวทีการต่อสู้ที่อเมริกาได้เข้าไปปรากฏตัวอย่างชัดเจน โดยภาพรวมแล้วอเมริกาจำพบและแบกรับความพ่ายแพ้ต่างๆ ในทุกสนามรบ สามารถพิจารณาและวิเคราะห์ตรวจสอบได้จากมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับกรณีเหล่านี้

อัฟกานิสถาน ความล้มเหลวหลังจากสิบสองปี

     ในปี 2001 อเมริกาและบรรดาประเทศพันธมิตรของอเมริกาได้บุกโจมตีอัฟกานิสถาน ภายใต้ข้ออ้างการต่อสู้กับลัทธิก่อการร้าย นโยบายที่ถูกประกาศออกมาโดยอเมริกาเกี่ยวกับการโจมตีครั้งนี้ คือการทำลายล้างกลุ่มตอลิบานและขบวนการอัลกออิดะฮ์ และการขจัดรากเหง้าของลัทธิก่อการร้ายในประเทศนี้ จนถึงขณะนี้ หลังจากสิบสองปีของการปรากฏตัวของกองกำลังต่างๆ ของตะวันตกในอัฟกานิสถาน ไม่เพียงแต่ลัทธิก่อการร้ายในประเทศนี้ยังไม่ได้ถูกทำลายลงเท่านั้น แต่ทว่าการผลิตและการลักลอบค้ายาเสพติดยังได้เพิ่มทวีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ในประเทศนี้แม้แต่ความไม่สงบและความรุนแรงก็มิได้ลดน้อยลงไปแต่อย่างใด ทว่าทุกสิ่งเหล่านี้กลับทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในสภาพเงื่อนไขที่ว่า ตามแผนของช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ในช่วงสิ้นปีนี้กองกำลังส่วนใหญ่ของตะวันตกจะต้องถอนตัวออกจากแผ่นดินอัฟกานิสถาน อเมริกากำลังมองหาช่องทางที่ว่า ด้วยกับสนธิสัญญาความมั่นคงระหว่างวอชิงตันกับกรุงคาบูล จะทำให้ตนเองสามารถขยายเวลาการปรากฏตัวอยู่ในอัฟกานิสถานต่อไปได้ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจ

    แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดึงดูดความสนใจมากที่สุดก็คือ หลังจากสองทศวรรษที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรปรากฏตัวอยู่ในอัฟกานิสถาน ได้ประสบกับความล้มเหลวในภารกิจต่างๆ ที่สำคัญของตนแล้ว พยานหลักฐานในเรื่องนี้จะต้องพิจารณาจากคำแถลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบางช่วงโอกาส โดยบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวถึงความจำเป็นในการเจรจากับกลุ่มตอลิบาน ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาจากการปรากฏตัวของชาวอเมริกันในอัฟกานิสถานนั้น พลเรือนจำนวนมากของอัฟกานิสถานต้องเสียชีวิตด้วยน้ำมือของอเมริกาและบรรดาพันธมิตร หรือไม่ก็ด้วยน้ำมือของบรรดาผู้ก่อการร้าย และบรรดากลุ่มก่อการร้ายเองก็ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ได้ต่อไปในปากีสถาน สมรภูมิของลัทธิก่อการร้าย

    เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในเหตุผลหลักของการปรากฏขึ้นของบรรดากลุ่มก่อการร้ายและความไร้เสถียรภาพในอัฟกานิสถาน ก็คือปากีสถาน พื้นที่ต่างๆ ทางตอนเหนือของปากีสถานซึ่งอยู่ติดกับชายแดนของอัฟกานิสถานได้กลายเป็นที่หลบภัยและฐานที่มั่นของบรรดากลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติมาเป็นเวลายาวนานหลายปี แม้จะมีการต่อสู้อย่างต่อเนื่องของหลายรัฐบาลของกรุงอิสลามาบัดกับปรากฏการณ์ของลัทธิก่อการร้ายในประเทศนี้ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่บรรลุผลในเชิงบวกแต่อย่างใด ซึ่งเกี่ยวกับกรณีนี้อเมริกาได้ให้เงินช่วยเหลือก้อนโตในทุกปีแก่รัฐบาลของกรุงอิสลามาบัด ในนามการต่อสู้กับลัทธิก่อการร้าย แต่ก็ไม่สามารถบรรลุความสำเร็จตามที่ควรจะเป็น การโจมตีอย่างต่อเนื่องของเครื่องบินไร้คนขับของสหรัฐอเมริกาลงในพื้นที่ต่างๆ ทางตอนเหนือของปากีสถานก็ไม่บังเกิดผลอะไร นอกจากนำไปสู่การเสียชีวิตและการได้รับบาดเจ็บของพลเรือนจำนวนมากเพียงเท่านั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในปากีสถานนั้นอเมริกาก็ไม่บรรลุความสำเร็จใดๆ แต่ต้องประสบความล้มเหลวเช่นเดียวกับในอัฟกานิสถานตลอดมา

ความล้มเหลวของพันธมิตรตะวันตกและอาหรับในซีเรีย

    ซีเรียคือสมรภูมิของการต่อสู้หนึ่ง ซึ่งตะวันตกโดยการนำของอเมริกาได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องโดยวิธีการต่างๆ มากกว่าสามปีมาแล้ว แม้อเมริกาจะเคยคิดว่า โดยอาศัยการเริ่มต้นสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศนี้ พวกเขาจะสามารถเห็นการถูกโค่นล้มของบัชชาร อัลอะซัดได้ เช่นเดียวกับกรณีของลิเบีย แต่เหตุการณ์ต่างๆ ในประเทศอาหรับประเทศนี้กลับไม่เป็นไปตามความต้องการของวอชิงตัน ด้วยกับสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในซีเรีย และด้วยกับกดดันต่างๆ อย่างมากมาย แต่อเมริกาและพันธมิตรของมันทั้งจากตะวันตกและโลกอาหรับ ก็ไม่สามารถทำให้ซีเรียประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับลิเบียได้

    ในเวทีทางการทูตและเวทีนานาชาติ ประเทศเหล่านี้ก็ต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคขวากหนามที่ใหญ่โตที่มีนามว่า รัสเซียและสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน โดยที่หลายต่อหลายครั้งทั้งสองประเทศได้ทำให้ความพยายามของประเทศเหล่านั้นที่ต้องการกดดันรัฐบาลดามัสกัสและต้องการให้เกิดการโค่นล้มขึ้นในประเทศด้วยวิธีการต่างๆ ก็ต้องประสบกับความล้มเหลว ในครั้งล่าสุดที่ผ่านมาก็เช่นเดียวกัน เป้าหมายต่างๆ ของอเมริกาที่จะโจมตีทางทหารต่อซีเรียก็ต้องถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง โดยการเจรจาทางการทูตในกรุงเครมลิน ได้มีการบรรลุข้อตกลงกันบนพื้นฐานที่ว่าอาวุธเคมีในซีเรียจะต้องถูกเคลื่อนย้ายออกจากประเทศ

    ภายหลังจากขั้นตอนดังกล่าวนี้เองที่ชัยชนะของทหารซีเรียที่มีต่อกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ถูกยกระดับขึ้น และเราได้เห็นการปลดปล่อยเมืองต่างๆ ในประเทศนี้อย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน พื้นที่ในซีเรียกลายเป็นสถานที่ที่คับแคบสำหรับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลไปแล้ว จนกระทั่งว่าบางครั้งการปะทะกันเองภายในระหว่างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลนั้นได้กลายเป็นเหตุทำให้บางส่วนของพวกเขาต้องถอนตัวออกไปจากซีเรียและเคลื่อนย้ายไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาค อย่างเช่นในเลบานอน

ความล้มเหลวของการเจรจา

     รัฐบาลอเมริกาในสมัยที่สองของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ใช้ความพยายามอย่างมากโดยลำพัง โดยไม่ขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ ในการสร้างการประนีประนอมให้เกิดขึ้นระหว่างอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ สิ่งนี้เองที่ทำให้จอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศของอเมริกา นับจากช่วงเวลาที่เข้ามารับตำแหน่งในฐานะเจ้าหน้าที่ทางการทูตของสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางไปยังดินแดนที่ถูกยึดครองนับเป็นสิบครั้งแล้ว เพื่อที่จะเจรจาในเรื่องนี้กับทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่กรณีกัน

     แม้อเมริกาจะมีความพยายามที่จะทำให้การเจรจาปรองดองในปาเลสไตน์บรรลุความสำเร็จก็ตาม แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้นำไปสู่ผลในทางปฏิบัติใดๆ เลย และตรงข้ามกับคำมั่นสัญญาต่างๆ ที่มีต่อชาวปาเลสไตน์ ซึ่งจนถึงขณะนี้อเมริกายังไม่สามารถที่จะหยุดนโยบายก้าวร้าวและรุกรานของรัฐบาลไซออนิสต์ได้เลย

     ตัวอย่างเช่น การสร้างหมู่บ้านที่อยู่อาศัยที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ประเด็นดังกล่าวนี้ดำเนินไปจนถึงขั้นที่ทำให้แม้แต่พันธมิตรในยุโรปบางประเทศยังต้องแสดงการคัดค้านต่อรัฐบาลนี้ เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า ระบอบไซออนิสต์ ไม่พร้อมที่จะยินยอมตามความต้องการที่ถูกต้องชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์ และในอีกด้านหนึ่ง บรรดากลุ่มนักต่อสู้ อย่างเช่น ฮามาสก็ไม่ยินยอมที่จะละมือจากอุดมคติต่างๆ ที่คาดหวังมายาวนานหลายปีของตน และไม่พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนมันกับรัฐบาลที่ยึดครองดินแดนอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม)

    จนมาถึงกรณีล่าสุดประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศให้อัลกุดส์ (กรุงเยรูซาเล็ม) เป็นเมืองหลวงของระบอบไซออนิสต์และการย้ายสถานทูตสหรัฐฯ ไปยังเมืองเยรูซาเล็ม จนดัเกิดกระแสการเคลื่อนไหวจากกลุ่มต่างๆ ของชาวปาเลสไตน์ประกาศนัดวันรวมพลแสดงพลังแห่งความโกรธและการเตรียมพร้อมการชุมุนมประท้วงทั่วกันทั่วโลก

ประเทศยูเครน

     ในปี 2013 ซึ่งอเมริกาได้มองเห็นชัยชนะต่างๆ ที่น่าประทับใจทางด้านการทูตของรัสเซีย ทำให้อเมริกาตัดสินใจที่จะสกัดกั้นการรุกคืบของรัสเซียในประเทศยูเครน แม้ว่ารัสเซียจะยุ่งอยู่กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในฤดูหนาวในโซซี ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลยูเครนที่โปรรัสเซียต้องหลุดพ้นออกจากอำนาจ แต่เครมลินด้วยกับการต้านทานการโจมตีต่างๆ ของตน สามารถรวมคาบสมุทรไครเมียเข้าเป็นของตนได้ และนั่นก็ไม่ใช่ด้วยวิธีการทางทหาร แต่ผ่านวิธีการต่างๆ ที่นิ่มนวล ทำให้คาบสมุทรที่เป็นยุทธศาสตร์นี้กลายมาเป็นของตน

     ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ขณะนี้วอชิงตันกำลังผูกความหวังไว้ที่การลงโทษทางด้านเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่มีเจตนาที่จะดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะในกรณีเช่นนี้จะทำให้บริษัทต่างๆ ของอเมริกาประสบกับความเสียหาย อเมริกากำลังรอคอยการตัดสินใจของยุโรปและมีความปรารถนาที่จะได้เห็นว่าบรัสเซลส์พร้อมที่จะพลีอุทิศตนเองอยู่กับฝ่ายใด แต่ดูตามรูปการแล้ววอชิงตันไม่มีเจตนาที่จะใช้ความรุนแรงใดๆ กับรัสเซีย

     ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในการสร้างความเห็นชอบของตนแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปเพื่อการคว่ำบาตรต่อรัสเซียนั้น อเมริกาจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย จากคำแถลงต่างๆ ของบรรดานักการทูตและนักการเมืองของตะวันตก สามารถสรุปได้ว่า การคว่ำบาตรต่างๆ ในภาคส่วนที่เป็นพลังงานนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นการลงโทษที่จะมีประสิทธิภาพที่สุด และหนักหน่วงที่สุดสำหรับมอสโก แม้ว่าจนถึงขณะนี้จะยังไม่มีการตัดสินใจขั้นเด็ดขาดใดๆ ในกรณีนี้เลยก็ตาม

     การคว่ำบาตรเหล่านี้อาจจะคล้ายคลึงกันกับการคว่ำบาตรน้ำมันของตะวันตกที่กระทำกับอิหร่านในปี 2013 รัสเซียได้ส่งออกน้ำมันดิบไปยังประเทศต่างๆ ในตะวันออกไกลในปริมาณถึง 207 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบ (โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นน้ำมันเตาและน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล) ในปริมาณ 141 ล้านตัน โดยที่ยุโรปเป็นจุดหมายปลายทางของการส่งออกที่สำคัญที่สุด

     ส่วนแบ่งน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของรัสเซียในการบริโภคมวลรวมของประเทศต่างๆ ของสหภาพยุโรปนั้นมีปริมาณถึง 40 เปอร์เซ็นต์ บรรดานักลงทุนในตลาดนี้เชื่อว่า ในกรณีที่มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างครอบคลุมจากทุกฝ่ายต่อประเทศซีเรีย จะไม่สามารถทดแทนปริมาณน้ำมันดิบดังกล่าวนี้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากสภาพในปัจจุบันนี้ ซาอุดีอาระเบียสามารถจะผลิตได้มากกว่าอัตราการผลิตที่เป็นอยู่ขณะนี้เพียงจำนวน 2.8 ล้านบาร์เรล ต่อวันเพียงเท่านั้น ส่วนใหญ่ของโรงกลั่นต่างๆ ของยุโรป ในสาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ สโลวาเกียและเยอรมนี จะรับน้ำมันดิบโดยผ่านท่อน้ำมัน "Druzhba" ของรัสเซีย

     การสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ทางด้านโลจิสติกสำหรับการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างมาก แม้ว่าสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศและที่เหนืออื่นใด อเมริกาจะมีสำรองน้ำมันดิบเพื่อการป้องกันการขาดแคลนสำหรับการบริโภคอยู่ในปริมาณ 90 วัน และสำรองน้ำมันดิบเพื่อการพาณิชย์ในปริมาณ 30 ถึง 60 วันก็ตาม แต่การปรับโครงสร้างแผนการส่งออกน้ำมันนั้น จะมีผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจของยุโรปซึ่งมีสภาพที่ไม่สู้จะดีอยู่แล้วในขณะนี้

    ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า สิ่งที่สามารถจะคาดหวังได้สูงสุดในขณะนี้ คือการลดปริมาณการซื้อน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากรัสเซียโดยกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปลงได้ ในอัตราร้อยละยี่สิบ (หมายถึง 50 ล้านตัน) เพียงเท่านั้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ภาคส่วนของน้ำมันดิบของรัสเซียจะสูญเสียรายได้ไป 35 ถึง 40 พันล้านดอลลาร์ต่อปี หากมีการวางแนวทางป้องกันของตะวันออกเกิดขึ้น ความเสียหายก็จะลดน้อยลง แต่สำหรับตะวันตกนั้น ไม่ใช่แค่เพียงการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรเท่านั้น แม้แต่การคงสภาพการคว่ำบาตรน้ำมันต่อรัสเซียไว้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานนั้น ก็นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ยากลำบากแสนเข็ญเช่นเดียวกัน

     แต่อย่างไรก็ดีจนถึงขณะนี้ ภารกิจของอเมริกาในยูเครนยังไม่จบสิ้นลง และอีกบางเมืองของประเทศใหญ่ในยุโรป เช่น โดเนตสค์ ลูฮันสค์และโอเดสซา ก็ได้เรียกร้องที่จะรวมตัวเองเข้ากับประเทศรัสเซีย กล่าวกันว่าประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้มีความปรารถนาที่จะรวมตัวดังกล่าว และหากร้อยละเก้าสิบของประชาชนต้องการสิ่งหนึ่งแล้ว การรักษาพวกเขาไว้ให้อยู่ในกรอบของประเทศเดิม ย่อมไม่อาจเป็นไปได้อีกต่อไป

     อิรักเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อเมริกา แม้จะประสบความสำเร็จในการโค่นล้มจอมเผด็จการที่ปกครองอยู่ในประเทศนี้ได้ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถที่จะบรรลุสู่เป้าหมายหลักของตนเองได้ เพื่อที่จะพิสูจน์ถึงคำกล่าวอ้างนี้ เพียงพอแล้วที่ว่า สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านสามารถใช้ประโยชน์จากสูญญากาศที่เกิดจากการโค่นล้มจอมเผด็จการอย่างเช่นซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งสามารถทำให้ประเทศนี้มีความใกล้ชิดกับตนเองได้ โดยอาศัยอิทธิพลทางด้านศาสนาและวัฒนธรรม

     ปัจจุบันประเทศอิรักเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญของอิหร่านในภูมิภาค และประเด็นนี้ย่อมสร้างความไม่พอใจให้แก่อเมริกาเป็นอย่างมาก

     บทสรุปก็คือ อย่างน้อยที่สุด ในบรรดาประเทศที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น สหรัฐอเมริกาไม่ได้รับผลต่างๆ ตามที่ตนเองต้องการ และต้องประสบกับความล้มเหลวในประเทศเหล่านั้น ความล้มเหลวทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีนี้เอง


บทความ : ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม