คดีฆาตกรรม คาช็อกกี จะเปิดปมอาชญากรรมของบินซัลมาน ในเยเมนได้หรือไม่?

    ประเด็นการลอบสังหารหรือการลักพาตัว “ญะมาล คาช็อกกี” นักข่าวและนักการเมืองชาวซาอุดีอาระเบียในสถานกงสุลของประเทศนี้ในอิสตันบูลประเทศตุรกีทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างกว้างขวางตลอดช่วงหลายวันที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสื่อตะวันตกและอเมริกา

    ญะมาล คาช็อกกี ซึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนการโจมตีเยเมนของซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ล่าสุดเขาได้เปลี่ยนทัศนคติของตนเกี่ยวกับสงครามเยเมนและได้วิพากษ์วิจารณ์บทบาทและนโยบายของมุฮัมมัด บินซัลมานอย่างชัดเจน

    การหายตัวไปของคาช็อกกี ถูกเปิดเผยและตีพิมพ์ในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการสังหารและวิธีการปฏิบัติเยี่องไอซิสของทีมอุ้มฆ่าจากหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียในการกำจัดบุคคลที่เป็นภัยสำหรับเขา ได้ก่อเกิดปฏิกิริยาต่างๆ อย่างกว้างขวางของประชาชนในเยเมน โดยที่ชาวเยเมนจำนวนมากเชื่อว่าอาชญากรรมของซาอุดีอาระเบียครั้งนี้ เป็นหนึ่งในความผิดพลาดทางการเมืองที่ร้ายแรงของมุฮัมมัด บินซัลมาน บางทีอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในจุดยืนต่างๆ ในระหว่างประเทศที่มีต่อซาอุดิอาระเบียและการกดดันต่อเขาเพื่อให้ยุติการรุกรานและอาชญากรรมต่อเยเมนในเบื้องต้น และหลังจากนั้นจะนำไปสู่การเปิดคดีอาชญากรรมอื่นๆ ของมุฮัมมัด บินซัลมาน

     เนื่องจากอาชญากรรมของซาอุดีอาระเบียในเยเมนยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน เราจึงสมควรที่จะต้องชี้ให้เห็นถึงอาชญากรรมแบบเดียวกันนี้ในเยเมน ซึ่งคล้ายคลึงกับการลักพาตัวของคาช็อกกี แต่แน่นอนอาจจะไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญถึงขั้นนี้ แต่ก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนถึงกรณีที่ มุฮัมมัด บินซัลมาน ไม่ได้มองข้ามความผิดของผู้อื่น และจะดำเนินการก่ออาชญากรรมต่อบุคคลทั้งหลายที่คุกคามเขาหรือชื่อเสียงของเขา แม้ว่าการคุกคามนั้นจะเป็นเพียงเรื่องของสื่อและถูกสะท้อนในหนังสือพิมพ์หรือข่าวโทรทัศน์ก็ตาม

    ประเด็นนี้เกิดขึ้นประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาที่ “บุซัยนะฮ์” เด็กหญิงชาวเยเมนวัย 6 ขวบที่ได้สูญเสียบิดามารดาและบรรดาพี่สาวของตนจากการโจมตีของซาอุดิอาระเบียเมื่อประมาณหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ซาอุดิอาระเบียได้เผชิญหน้ากับปฏิกิริยาต่างๆ จากประชาชนและทางด้านการเมืองอย่างกว้างขวาง และการตีพิมพ์ภาพของเธอที่พยายามเปิดตาของตนเพื่อดูเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเธอ ในสื่อส่วนใหญ่ได้เรียกภาพนี้ว่า "ดวงตามนุษยธรรม" รัฐบาลซาอุดีอาระเบียเพื่อที่จะปกปิดอาชญากรรมของตนก็ได้ส่งเธอไปยังเอเดนและได้นำเธอไปกักขังร่วมกับลุงและครอบครัวของเขาในกรุงริยาด

    ในกรอบของปฏิกิริยาต่างๆ ในระหว่างประเทศและในช่วงเวลาเดียวกันกับความวิตกกังวลในระดับนานาชาติเกี่ยวกับการลักพาตัวนายญะมาล คาช็อกกี นักหนังสือพิมพ์และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวซาอุฯ ที่โดดเด่นผู้นี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติก็ได้เรียกร้องให้ซาอุดิอาระเบียยุติการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายต่างๆ ทางพลเรือนในเยเมนและการดำเนินคดีกับบรรดาเจ้าหน้าที่เข่นฆ่าสังหารเด็กๆ ในการโจมตีต่างๆ ที่ผิดกฎหมาย

    การวิพากษ์วิจารณ์ในระดับนานาชาติเหล่านี้และการกดดันต่างๆ ในระหว่างประเทศต่อซาอุดิอาระเบียที่ขยายวงมากขึ้น แม้แต่จากบรรดาพันธมิตรของซาอุดิอาระเบียเองได้นำไปสู่ความพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อการการค้นหาเบาะแสการลักพาตัวคาช็อกกี และประเด็นดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นสาเหตุทำให้ชาวเยเมนจำนวนมากมองว่ามันคือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่ดีที่สำหรับการเปลี่ยนท่าทีของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติตะวันตกที่มีต่อมุฮัมมัด บินซัลมาน ซึ่งก่อนหน้านี้บรรดาหนังสือพิมพ์และรัฐบาลตะวันตกได้มองว่า เขาเป็นนักการเมืองปฏิรูปและได้โฆษณาให้เขาทั้งกลางวันและกลางคืน

    การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของบรรดาประเทศตะวันตกที่มีต่อ มุฮัมมัด บินซัลมาน บางทีอาจจะนำไปสู่การมุ่งความสนใจไปที่ความผิดพลาดต่างๆ ของบินซัลมานและการค้นพบอาชญากรรมต่างๆ ของเขาที่มีต่อพลเมืองเยเมน ซึ่งผลของมันจะนำไปสู่การยุติการเซ็นเซอร์เหตุการณ์ต่างๆของสงครามเยเมนและท้ายที่สุดก็ก็คือการยุติการเข่นฆ่าและอาชญากรรมของซาอุดีอาระเบีย

   ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนเชื่อว่า สงครามของซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะกลายเป็นตลาดที่ให้ผลกำไรสำหรับประเทศเหล่านี้ และเป็นปัจจัยด้านการหาเงินได้เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีสัญญาณใดๆ ของการเปลี่ยนแปลงในนโยบายของประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากคำกล่าวของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิดีของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวย้ำว่าประเด็นการลักพาตัวนายญะมาล คาช็อกกี จะไม่มีผลกระทบต่อข้อตงลงสัญญาต่างๆ และการขายอาวุธให้กับซาอุดิอาระเบีย

   เรื่องทำนองเดียวกันกับที่ปฏิสัมพันธ์ของบรรดาประเทศตะวันตกและตุรกีนั้น ดูเหมือนว่าได้เปลี่ยนจากปัญหาด้านมนุษยธรรมไปเป็นเครื่องมือสำหรับการแบล็กเมล์ทางการเงินและการเมืองต่อรัฐบาลซาอุดีอาระเบียไปเสียแล้ว


ที่มา : อัล-อาลัม

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม