foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

ย่างก้าวแห่งการแสวงหาความรู้เทียบเท่ากับการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า(อิบาดะฮ์) 1 ปี!

ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า สำหรับทุกย่างก้าวที่ผู้แสวงหาความรู้ได้ ย่างก้าวไปยังบ้านของผู้รู้นั้น พระผู้เป็นเจ้าจะทรงบันทึกภาคผลของการอิบาดะฮ์หนึ่งปีให้แก่เขา และสำหรับแต่ละย่างก้าวนั้นพระองค์จะทรงสร้างเมืองหนึ่งแก่เขาในสวรรค์

      ในคำสอนต่างๆ ของศาสนาอิสลามนั้น การแสวงหาความรู้ถูกเน้นย้ำไว้อย่างมากมาย และถูกกำชับแก่มนุษย์ว่า “จงแสวงหาความรู้นับจากเปลนอนจนกระทั่งถึงหลุมฝังศพ” และในหลายวาระเช่นกันที่ได้กำชับสั่งเสียให้ศึกษาเรียนรู้ความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นและมีประโยชน์ บนพื้นฐานของคำรายงาน (ริวายะฮ์) นั้น พ่อแม่จะต้องจัดการในการให้ความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นต่อลูกๆ ในช่วงวัยเด็ก เพื่อที่พวกเขาจะได้ใช้ประโยชน์จากมันในช่วงวัยอันเติบใหญ่ ความสำคัญของการแสวงหาความรู้นั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

 أُغْدُ عالِماً أو متعلّماً، وإيّاك أن تكون لاهياً مُتلذّذاً

“จงตื่นเช้าขึ้นมาในสภาพของการเป็นผู้รู้ หรือไม่ก็จงเป็นผู้แสวงหาความรู้ และจงระวังจากการเป็นผู้ที่ใช้เวลาไปอย่างไร้สาระและผู้แสวงหาความสุขสำราญ” (1)

       ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ได้กล่าวว่า

 خُذِ الْحِکْمَةَ وَ لَوْ مِنَ الْمُشْرِکِینَ

“จงแสวงหาวิทยปัญญา (และความรู้) แม้ว่าจากบรรดาผู้ตั้งภาคีก็ตาม” (2)

       เช่นเดียวกันนี้ ท่านกล่าวว่า

 خُذِ الْحِکْمَةَ وَ لَوْ مِنَ أَفْوَاهِ المَجَانِیْن

“จงแสวงหาวิทยปัญญา (และความรู้) แม้ว่าจะออกมาจากปากบรรดาคนวิกลจริตก็ตาม” (3)

       และท่านยังได้กล่าวอีกว่า

 عليكم بالعِلمِ والأدب؛ فإنّ العالِمَ يُكرَم وإن لم يُنتسَب، ويُكرَم وإن كان فقيراً، ويُكرَم وإن كان حَدَثاً

“ท่านทั้งหลายจงแสวงหาความรู้และมารยาท เพราะแท้จริงผู้รู้นั้นจะได้รับการให้เกียรติแม้ว่าเขาจะไม่ถูกสัมพันธ์ไปยังครอบครัวใด เขาจะได้รับการให้เกียรติถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ยากจน และเขาจะได้รับการให้เกียรติแม้ว่าจะเป็นคนหนุ่มก็ตาม” (4)

คุณค่าของการสอนและการเรียนรู้

       ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

 فَإِنَّ تَعْلِيْمَهُ حَسَنَةٌ ، وَطَلَبَهُ عِبَادَةٌ ، وَالْمُذَاكَرَتَ بِهِ تَسْبِيحٌ ، وَالْعَمَلُ بِهِ جِهَادٌ وَتَعْلِيمَهُ مَنْ لَا يَعْلَمَهُ صَدَقَةٌ ، وَبَذْلَهُ لِأَهْلِهِ قُرْبَةٌ إلَى اللّه تعالى ، لأنه معالم الحلال والحرام ، ومنار سبل الجنة ، وَهُوَ الْمُؤْنِسُ فِي الْوَحْشَةِ

“แท้จริงการสอนความรู้ให้แก่ผู้อื่นนั่นคือความดีงาม การแสวงหามันคือการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า (อิบาดะฮ์) การสนทนาทางความรู้คือการสรรเสริญสดุดีต่อพระผู้เป็นเจ้า(ตัสเบี๊ยะห์) การปฏิบัติมันคือการต่อสู้ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า(ญิฮาด) การสอนมันแก่ผู้ที่ไม่รู้คือซอดะเกาะฮ์ (การบริจาคทาน) และการมอบมันให้แก่ผู้ที่มีความคู่ควรนั้น คือสื่อนำไปสู่ความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง เพราะแท้จริงมันคือคำสอนให้รู้เกี่ยวกับสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) และสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) เป็นประทีปส่องนำทางสู่สวรรค์ และมันคือเพื่อนสนิทในยามเปล่าเปลี่ยวเดียวดาย” (5)

      ท่านยังได้กล่าวอีกว่า

 مَنْ تَعَلَّمَ بَاباً مِنَ الْعِلْمِ لِيُعَلِّمَهُ النَّاسَ ابْتِغَاءَ وَجْهِ اللَّهِ أَعْطَاهُ اللَّهُ أَجْرَ سَبْعِينَ نَبِيّاً

“ผู้ใดก็ตามที่เรียนรู้ประตู (ส่วน) หนึ่งจากความรู้ เพื่อสอนมันแก่ประชาชน โดยมุ่งแสวงหาความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮ์ อัลลอฮ์จะทรงประทานผลรางวัลของเจ็ดสิบศาสดาให้แก่เขา” (6)

      ท่านยังได้กล่าวอีกว่า

 مَنْ أَحَبَّ أَنْ يَنْظُرَ إِلَى عُتَقَاءِ اللَّهِ مِنَ النَّارِ ، فَلْيَنْظُرْ إِلَى الْمُتَعَلِّمِينَ ، فَوَالَّذِي نَفْسِيْ بِيَدِهِ ، مَا مِنْ مُتَعَلِّمٍ يَخْتَلِفُ إِلَى بَابِ الْعَالِمِ إِلَّا كَتَبَ اللَّهُ لَهُ بِكُلِّ قَدَمٍ عِبَادَةَ سَنَةٍ ، وَبَنَى اللّهُ لَهُ بِكُلِّ قَدَمٍ مَدِينَةً فِي الْجَنَّةِ ، وَيَمْشِي عَلَى الْأَرْضِ وَهِيَ تَسْتَغْفِرُ لَهُ ، وَيُمْسِي وَيُصْبِحُ مَغْفُورًا لَهُ ، وَشَهِدَتِ الْمَلَائِكَةُ أنَّهُمْ عُتَقَاءُ اللَّهِ مِنَ النَّارِ

“ผู้ใดที่ปรารถนาจะมองไปยังผู้ที่อัลลอฮ์ทรงปลดปล่อยจากไฟนรก ดังนั้นเขาจงมองไปยังผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน ขอสาบานต่อพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ไม่มีผู้ศึกษาเล่าเรียนคนใดที่ไปมายังประตูบ้านของผู้รู้ นอกจากอัลลอฮ์จะทรงบันทึกแก่เขาสำหรับทุกย่างก้าวด้วยผลรางวัลของการอิบาดะฮ์หนึ่งปี และจะทรงสร้างเมืองหนึ่งแก่เขาในสวรรค์สำหรับทุกๆ ย่างก้าว และเขาจะเดินไปในแผ่นดินในสภาพที่มัน (แผ่นดิน) จะขออภัยโทษให้แก่เขา และเขาจะเข้าสู่ยามค่ำและตื่นเช้าขึ้นมาในสภาพที่ได้รับการอภัยโทษ และบรรดาทวยเทพ (มะลาอิกะฮ์) จะเป็นสักขีพยานยืนยันว่า พวกเขาคือผู้ที่อัลลอฮ์ทรงปลดปล่อยจากไฟนรก” (7)

       ท่านศาสนทูต (ซ็อลฯ) ยังได้กล่าวอีกว่า

 فَإِنَّ حُضُورَ مَجْلِسِ عَالِمٍ أَفْضَلُ مِنْ حُضُورِ أَلْفِ جَنَازَةٍ ، وَمِنْ عِيَادَةِ أَلْفِ مَرِيضٍ

“แท้จริงการเข้าร่วมในที่นั่ง (การเรียนการสอน) ของผู้รู้คนหนึ่งนั้น ประเสริฐกว่าการเข้าร่วมพิธีศพ (ญะนาซะฮ์) ถึงหนึ่งพันศพ และการเยี่ยมผู้ป่วยถึงหนึ่งพันคน” (8)

      เช่นเดียวกันนี้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

 مَنْ غَدَا إِلَى الْمَسْجِدِ لا يُرِيدُ إِلا لَيَِتَعَلَّمَ خَيْرًا أَوْ لِيَعْلَمَهُ، كَانَ لَهُ مُعْتَمِرٍ تَامِّ الْعُمْرَةِ , وَمَنْ رَاحَ إِلَى الْمَسْجِدِ لا يُرِيدُ إِلا لِيَتَعَلَّمَ خَيْرًا , أَوْ لِيُعَلِّمَهُ كَانَ لَهُ أَجْرُ حَاجٍّ تَامِّ الْحَجَّةِ

“ผู้ใดก็ตามที่ไปมายังมัสยิด โดยที่ไม่ได้ประสงค์สิ่งใด นอกจากเพื่อที่จะศึกษาเรียนรู้สิ่งที่เป็นความดีงามหนึ่ง หรือเพื่อที่จะสอนมัน เขาจะได้รับผลรางวัลเท่ากับการทำอุมเราะฮ์และการทำฮัจญ์ที่สมบูรณ์” (9)

       ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) กล่าวว่า

 يا مُۆمِنُ اِنَّ هذَا العِلمَ وَالاَْدَبَ ثَمَنُ نَفْسِكَ فَاجْتَهِد فى تَعَلُّمِهِما ، فَما يَزيدُ مِنْ عِلْمِكَ وَ اَدَبِكَ يَزيدُ فى ثَمَنِكَ وَ قَدْرِكَ ، فَاِنَّ بِالْعِلْمِ تَهْتَدى اِلى رَبِّكَ وَ بِالاَْدَبِ تَحْسِنُ خِدْمَةَ رَبِّكَ وَبِأَدَبِ الْخِدْمَةِ يَسْتَوجِبُ الْعَبْدُ وَلايَتَهُ وَقُرْبَهُ ، فَاقْبَلِ النَّصيحَةَ كى تَنْجُوَ مِنَ الْعَذابِ

“โอ้ศรัทธาชนเอ๋ย! แท้จริงความรู้และมารยาทนี้ คือราคาแห่งชีวิตของท่าน ดังนั้นจงอุตสาห์พยายามในการแสวงหาทั้งสองสิ่งนี้เถิด ไม่ว่าความรู้และมารยาทของท่านจะเพิ่มพูนขึ้นมากเท่าใด ราคาและคุณค่าของท่านก็จะเพิ่มขึ้นมากเพียงนั้น แท้จริงด้วยกับความรู้นั้นท่านจะได้รับการนำทางไปสู่พระผู้อภิบาลของท่าน และด้วยกับมารยาทนั้นจะทำให้การรับใช้พระผู้อภิบาลของท่านเกิดความงดงาม และด้วยกับมารยาทของการรับใช้ (พระผู้เป็นเจ้า) นี้เองที่บ่าวจะคู่ควรต่อการคุ้มครองและความใกล้ชิดพระองค์ ดังนั้นจงรับคำแนะนำตักเตือน (ของฉัน) นี้ไว้เถิด เพื่อที่ท่านจะได้รอดพ้นจากการลงโทษ” (10)

       และท่านยังกล่าวอีกว่า

الْكَلِمَةُ مِنْ كَلَامِ الْحِكْمَةِ يَسْمَعُهَا الرَّجُلُ فَيَقُوْلُ أَوْ يَعْمَلُ بِهَا خَيْرٌ مِنْ عِبَادَةِ سَنَةٍ

“คำพูดที่มีวิทยปัญญาเพียงคำเดียวที่ผู้หนึ่งได้รับฟังมัน แล้วเขาจะพูดมันออกไปหรือจะปฏิบัติตามมัน ย่อมดีงามกว่าการอิบาดะฮ์ถึงหนึ่งปี” (11)

       ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ได้กล่าวว่า

 مَن مَشى في طَلَبِ العِلمِ خُطوَتَينِ ، وجَلَسَ عِندَ العالِمِ ساعَتَينِ ، وسَمِعَ مِنَ المُعَلِّمِ كَلِمَتَينِ ، أوجَبَ اللهُ لَهُ جَنَّتَينِ ؛ كَما قالَ اللهُ وَلِمَنْ خَافَ مَقَامَ رَبّهِ جَنَّتَانِ

“ผู้ใดก็ตามที่เดินไปเพื่อการแสวงหาความรู้แม้เพียงสองก้าว และนั่งอยู่ ณ ผู้มีความรู้เพียงสองชั่วโมง และรับฟังจากผู้รู้แม้เพียงคำพูดสองคำ อัลลอฮ์จะทรงทำให้สองสรวงสวรรค์เป็นวาญิบสำหรับเขา ดั่งเช่นที่อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสว่า “และสำหรับผู้ที่เกรงกลัวต่อสถานะตำแหน่งของพระผู้อภิบาลของเขานั้น จะได้รับสองสวรรค์” (12)

       ท่านอิมามบากิร (อ.) ได้กล่าวว่า

 إِنّ الّذِي يُعَلّمُ الْعِلْمَ مِنْكُمْ لَهُ أَجْرٌ مِثْلُ أَجْرِ الْذی یتَعَلّمِه وَ لَهُ الْفَضْلُ عَلَيْهِ فَتَعَلّمُوا الْعِلْمَ مِنْ حَمَلَةِ الْعِلْمِ وَ عَلّمُوهُ إِخْوَانَكُمْ كَمَا عَلّمَكُمُوهُ الْعُلَمَاءُ

“แท้จริงบุคคลใดก็ตามจากพวกท่านที่สอนความรู้ เขาจะได้รับผลรางวัลเหมือนกับผลรางวัลของผู้ที่ศึกษาเรียนรู้มันด้วย แต่สำหรับเขานั้นจะมีความประเสริฐเหนือกว่าผู้ที่ทำการศึกษาเรียนรู้ ดังนั้นพวกท่านจงศึกษาหาความรู้จากบรรดาผู้มีความรู้ แล้วจงสอนมันแก่พี่น้องของพวกท่าน เช่นเดียวกับที่บรรดาผู้รู้ได้สอนพวกท่าน” (13)


เชิงอรรถ :

1) อัลมะฮาซิน, หน้าที่ 227 ; บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 1, หน้าที่ 194

2) มิชกาตุ้ลอันวาร, หน้าที่ 134

3) มิศบาฮุชชะรีอะฮ์, หน้าที่ 160

4) ชัรห์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, อิบนุ อบิลฮะดีด, เล่มที่ 20 , หน้าที่ 332

5) อัลอะมาลี, เชคฏูซีย์, หน้าที่ 569 ; บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 1, หน้าที่ 171

6) เราฎ้อตุ้ลวาอิซีน, หน้าที่ 12

7) มะนียะตุ้ลมุรีด, หน้าที่ 100

8) มิชกาตุ้ลอันวาร, หน้าที่ 135 ; มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่มที่ 2, หน้าที่ 482

9) มะนียะตุ้ลมุรีด, หน้าที่ 106

10) เราฎ้อตุ้ลวาอิซีน, หน้าที่ 11

11) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 1, หน้าที่ 183

12) อิรชาดุลกุลูบ, หน้าที่ 195

13) ชัรห์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, อิบนุ อบิลฮะดีด, เล่มที่ 20, หน้าที่ 319


ที่มา : หนังสือ “มะฟาตีฮุลฮะยาต” ของท่าน “ฮายะตุลลอฮ์ญะวาดี ออมูลี”

แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม