foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

กำแพงร้องไห้ (Wailing wall) คืออะไร?

     บางทีท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินชื่อกำแพงครวญครางหรือกำแพงร้องไห้ (Wailing wall) ที่อยู่ในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองกันบ้างแล้ว แต่ทว่ากำแพงร้องไห้นี้อยู่ที่ใด? และเรื่องราวของมันเป็นอย่างไร? เราจะมาทำความรู้จักกันโดยสังเขปในที่นี้

     กำแพงร้องไห้ (Wailing wall) คือส่วนหนึ่งของกำแพงด้านตะวันตกของมัสยิดอัลอักซอ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (สำคัญ) เป็นพิเศษสำหรับบรรดาศาสนาที่สืบสายมาจากท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.)

     ตามความเชื่อของชาวยิว กำแพงนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิหารโซโลมอน (The temple of Solomon) ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากระยะเวลายาวนานหลายปี ชาวมุสลิมจะเรียกมันว่า “กำแพงบุร๊อก” (حائِط البُراق) ซึ่งเชื่อว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ในระหว่างการเดินทางสู่ฟากฟ้า (อิสรออ์-เม๊ยะอ์รอจ) ของตนนั้น ท่านได้ผูกพาหนะของท่านไว้กับกำแพงนี้ (บุร็อกเป็นชื่อของสัตว์พาหนะแห่งสวรรค์ของท่านศาสดา)

กำแพงร้องไห้ (Wailing wall) คืออะไร?

เนื้อหาโดยสรุปของประวัติศาสตร์

     เนื่องจากชาวยิวถือว่ากำแพงนี้เป็นส่วนหนึ่งของซาก “วิหารโซโลมอน” (The temple of Solomon) พวกเขาจึงพยายามหาทางที่จะครอบครองสิ่งนี้ นับจากศตวรรษที่ 16 โดยประมาณที่มีพยายามต่างๆ ที่จะครอบครองมันและความพยายามสูงสุดอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยที่ในเดือนสิงหาคม 1929 ชาวยิวได้เกิดการประทะกันกับชาวมุสลิมในประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองกำแพง ในระหว่างเหตุการณ์นี้ ซึ่งเป็นที่รูจักกันในนาม “การปฏิวัติอัลบุร๊อก” (ثورة البراق)  ทำให้จำนวนหนึ่งจากทั้งสองฝ่ายได้เสียชีวิต ในช่วงเวลานั้นอำนาจเหนือปาเลสไตน์อยู่ในมือของอังกฤษ และด้วยเหตุนี้เองอังกฤษจึงมีอำนาจกำหนดและตัดสินใจในเรื่องนี้ ผลก็คือว่ากำแพงอัลบุร๊อกยังคงอยู่ในมือของชาวมุสลิม แต่ชาวยิวสามารถใช้เพื่อการแสวงบุญในสถานที่แห่งนี้ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาจะต้องไม่นำเครื่องบูชาเฉพาะของตนเข้าไปในนั้น

     หลายปีต่อมา หลังจากการยึดครองกรุงเยรูซาเล็มโดยกองทัพอิสราเอลในปี ค.ศ. 1967 บรรดาทหารได้ทำลายบ้านเรือนที่อยู่รอบๆ กำแพงและได้สร้างพื้นที่สำหรับการปฏิบัตืพิธีกรรมสักการะบูชาของชาวยิวขึ้น ตั้งแต่นั้นมา สำนักงานกำกับดูแลกำแพงอัลบุร๊อกก็ตกอยู่ในมือของอิสราเอล

กำแพงร้องไห้ (Wailing wall) คืออะไร?

ความเชื่อของชาวยิว

    ในตำราชาวยิวโบราณ ชื่อ "กำแพงด้านตะวันตกของพระวิหาร" ได้ถูกกล่าวไว้ แต่ก็มีข้อสงสัยว่ากำแพงที่ถูกกล่าวถึงนั้น เป็นกำแพงด้านตะวันตกอันเดียวกันกับในปัจจุบันหรือว่าเป็นกำแพงอื่นที่อยู่ในบริเวณวิหาร ในอดีตจะเรียกกำแพงที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า “The Western Wall” อย่างไรก็ตามชื่อ “กำแพงร่ำไห้” (Wailing wall) ในภาษาอาหรับใช้คำว่า  “المبکئ” ซึ่ง หมายถึง “สถานที่แห่งการร้องไห้” แต่ปัจจุบันนี้ตามที่กล่าวไปแล้ว ชาวมุสลิมจะเรียกมันว่า “กำแพงอัลบุร๊อก” (حائِط البُراق)

     ซึ่งในวิกิพีเดีย ได้กล่าวว่า กำแพงร่ำไห้เป็นสถานที่เคารพภักดีพระเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวยิว

กำแพงร้องไห้ (Wailing wall) คืออะไร?

กำแพงร้องไห้ ในปัจจุบัน

     ในปัจจุบัน สำนักงานกำกับดูแลกำแพงร้องไห้อยู่ในมือของมูลนิธิ “Kotel” (The Western Wall Heritage Foundation) ของอิสราเอล ซึ่งอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของกระทรวงการศาสนาของอิสราเอล สิ่งที่สมควรกล่าวถึงก็คือว่า ทุกคนไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือชาวยิวและผู้คนทั่วไป สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดทั้งปี

     การปรากฏตัวเคียงข้างกำแพงร้องไห้ ในหมู่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาประธานาธิบดีนั้น มีประวัติอันยาวนาน ตัวอย่างเช่น บารัก โอบามา ในช่วงของการรณรงค์หาเสียงการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2008 ได้เดินทางไปยังดินแดนที่ถูกยึดครองนี้และได้ไปปรากฏตัวเคียงข้างกำแพงร้องไห้

     ก่อนหน้าโอบามา จอร์จ ดับเบิ้ลยูบุช ก็ได้เดินทางไปยังดินแดนที่ถูกยึดครอง และไปยังสถานที่ของกำแพงร้องไห้ด้วยเช่นกัน เพื่อเยี่ยมชมและทำการคารวะ พร้อมการอธิษฐานเพื่อขอให้สัมฤทธิ์ผลความปรารถนาต่างๆ ของตน

     และล่าสุด โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐฯ ก็ได้เดินทางพร้อมครอบครัวเข้าเยี่ยมชมและทำการอธิษฐานที่กำแพงแห่งนี้ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา


แปลและเรียบเรียงโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม

FaceBook IICTH.COM

ผู้เยี่ยมชมขณะนี้

We have 199 guests and no members online

4889388
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
8291
2726
16406
4850244
57614
68082
4889388

25-Apr-2024 :: 22:02:44