foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ย้อนรอย:เมืองมักกะฮ์และมัสยิดอัลฮะรอม ตอนที่1จากแผ่นดินปาเลสไตน์สู่แผ่นดินฮิญาซ

       เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่แล้ว ศาสดาอิบรอฮีม ค่อลีลุลลอฮ์ (อ.) เดินทางจากปาเลสไตน์ นำฮาญัร ภรรยาและอิสมาอีล (อ.) บุตรชายวัยเยาว์มาทิ้งไว้ที่แผ่นดินฮิญาซ ในคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งเมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน ตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.) สองคนแม่ลูกถูกทิ้งไว้อย่างโดดเดี่ยว พร้อมด้วยถุงหนังบรรจุน้ำเพียงใบเดียว แต่ในที่สุดฮาญัรและอิสมาอีล (อ.) ก็รอดชีวิตมาได้ทั้งยังพบบ่อน้ำซัมซัม ซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นจุดพักของกองคาราวานที่เดินทางผ่านไปมา (ดูภาพที่ 1)

      ต่อมาอัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงบัญชาให้อิบรอฮีมและอิสมาอีล (อ.) สร้าง “วิหารกะอ์บะฮ์” หรือ “บัยตุลลอฮ์” ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเคารพภักดีต่อพระองค์สำหรับมวลมนุษยชาติ ภายหลังสร้างวิหารกะอ์บะฮ์แล้ว พระองค์ทรงประกาศว่า :

جَعَلَ اللَّـهُ الْكَعْبَةَ الْبَيْتَ الْحَرَامَ قِيَامًا لِّلنَّاسِ

“อัลลอฮ์ทรงให้อัลกะอ์บะฮ์ อันเป็นบ้านที่ต้องห้าม เป็นสถานที่ยืนหยัดสำหรับมนุษย์”

(อัลกุรอานบทที่ 5 อัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 97)

      มักกะฮ์มีชื่อเดิมว่า “บักกะฮ์” ดังปรากฏในอัลกุรอานบทที่ 3 อาลิอิมรอน โองการที่ 96 ว่า :

إِنَّ أَوَّلَ بَيْتٍ وُضِعَ لِلنَّاسِ لَلَّذِي بِبَكَّةَ مُبَارَكًا وَهُدًى لِّلْعَالَمِينَ

“แท้จริงบ้านหลักแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ (เพื่อการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) คือบ้านที่บักกะฮ์ โดยเป็นที่ที่ถูกให้มีความจำเริญ และเป็นที่แนะนำแก่ประชาชาติทั้งหลาย”

     ซึ่งมีความหมายว่า ทางเดินแคบ ๆ เพราะตั้งอยู่ในหุบเขาส่วนที่ต่ำที่สุดเป็นแอ่งกระทะ ดังนั้นทุกคราที่ฝนตกน้ำจากทุกทิศทุกทางจะไหลมารวมกันที่เมืองมักกะฮ์

     พิธีฮัจญ์ที่ปฏิบัติกันในปัจจุบัน ล้วนมีรูปแบบและร่องรอยมาจกการปฏิบัติของท่านศาสดาอิลรอฮีม (อ.) และครอบครัวของท่านทั้งสิ้น รวมทั้งสถานที่สำคัญต่าง ๆ ด้วย

การเวียนรอบบัยตุลลอฮ์ (ตอวาฟ)

     1.การเวียนรอบบัยตุลลอฮ์ (ตอวาฟ) เป็นการปฏิบัติตามท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.) ซึ่งกระทำภายหลังจากทั้งสองท่านสร้างบัยตุลลอฮ์เสร็จ

     สิ่งที่ควรทราบก็คือ หินที่ใช้ก่อสร้างบัยตุลลอฮ์ปัจจุบันเกือบทั้งหมด เป็นหินชุดเดียวกับที่ท่านศาสดาอิบรอฮีมใช้ก่อสร้างบัยตุลลอฮ์เมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะมีการบูรณะซ่อมแซมกี่ครั้ง ผู้บูรณะก็พยายามใช้ก้อนหินเดิมก่อสร้าง

     2. การสะแอ คือการเดินระหว่างสองจุด (ภูเขาซอฟาและมัรวะฮ์) ซึ่งมีระยะทางประมาณ 450 เมตร เป็นการปฏิบัติตามการเดินหาน้ำของท่านหญิงฮาญัร ภรรยาของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) หลังจากน้ำในถุงหนังที่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ทิ้งไว้ให้หมด และอิสมาอีล (อ.) ลูกน้อยกำลังจะสิ้นใจด้วยความหิวและความกระหาย ในการเดินหาน้ำของท่านหญิงฮาญัรนี้มีบางช่วงที่เธอออกวิ่ง เพราะความเป็นห่วงว่าจะหาน้ำมาให้ลูกดื่มไม่ทัน ในการเดินสะแอของผู้ประกอบพิธีฮัจญ์จึงมีบางช่วงที่ต้องวิ่งเยาะด้วย โดยมีสัญญาณไฟสีเขียวระบุให้ทราบว่าช่วงนี้ต้องวิ่งเยาะ ๆ (ดูภาพที่ 2)การพักแรมที่มินา ซึ่งอยู่นอกเมืองมักกะฮ์ (ดูภาพที่ 3)

     3.การเดินไปยังมุซดะลิฟะฮ์ เพื่อเก็บก้อนหินเล็ก ๆ 21 ก้อน (ภาพที่ 4)

      จากนั้นจึงนำไปขว้างเสาหิน 3 ต้น ต้นละ 7 ครั้ง (ภาพที่ 5)

      ตามจำนวนหินที่เก็บไปจากมุซดลีฟะฮ์ ระยะทางของมินา มุซดะลีฟะฮ์และอารอฟะฮ์ จากมัสยิดอัลฮะรอมประมาณประมาณ 7, 10 และ 20 กิโลเมตร ตามลำดับ

      การขว้างเสาหินนี้ปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ขณะที่ท่านนำอิสมาอีล (อ.) ลูกชายไปเชือดตามบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.) มารร้ายได้พยายามพูดจาหว่านล้อมไม่ให้ท่านปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.) ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จึงหยิบก่อนหินขึ้นขว้างเพื่อขับไล่มารร้ายดังกล่าว

      ในการการวิ่งหาน้ำของท่านหญิงฮาญัร ด้วยความพยายามอย่างสุดความสามารถ และด้วยความเชื่อมั่นในความเมตตาของอัลลอฮ์ (ซบ.) ทำให้นางพบตาน้ำที่ไหลออกมาจากพื้นดินบริเวณปลายเท้าที่อิสมาอีล (อ.) ลูกน้อยนอนอยู่ ตาน้ำนี้ต่อมากลายเป็นบ่อน้ำเรียกว่า “ซัมซัม” และยังมีน้ำไหลออกมาให้ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้ดื่มจนถึงทุกวันนี้

      การเชือดพลีอิสมาอีล (อ) ของท่านศาสดาอิบรอฮีม ตามบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.) ด้วยจิตใจที่มอบหมายต่อพระองค์ ทำให้อัลลอฮ์ (ซบ.) มอบสัตว์ที่จะเชือดพลีแทนอิสมาอีล (อ.) การพลีนี้ในภาษาอาหรับเรียกว่า “กุรบาน” ซึ่งผู้ประกอบพิธีฮัจญ์จะต้องกระทำ อันเป็นไปตามแบบฉบับของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเชือดสัตว์ที่เรียกว่า “กุรบาน” นี้ในภูมิลำเนาของตนเองเช่นกัน ในช่วงพิธีฮัจญ์ดังกล่าว

      การน้อมปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.) โดยดุษณีของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) นี้ทำให้ท่านได้รับฉายาจากอัลลอฮ์ (ซบ.) ว่า “ค่อลีลุลลอฮ์” หรือ “มิตรสนิทของพระผู้เป็นเจ้า”

      นี่คือประวัติความเป็นมา อุดมการณ์และปรัชญาของพิธีฮัจญ์โดยย่อ ซึ่งเป็นศาสนกิจการรวมตัวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติทุกสิผิว ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกภาษาและทุกวัฒนธรรม ภายใต้ความเสมอภาค ภารภาพและเอกภาพ

      ทว่าปัจจุบันเป้าหมาย อุดมการณ์และปรัชญาของฮัจญ์ยังคงดำรงอยู่มากน้อยเพียงใด เป็นประเด็นที่จะได้คุยกันต่อไป

เรียบเรียง : Fareed Denyingyoch

FaceBook IICTH.COM

ผู้เยี่ยมชมขณะนี้

We have 28 guests and no members online

5897377
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1554
4045
19702
5837176
19702
156114
5897377

04-Dec-2024 :: 16:31:36