foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

ความสำคัญของการให้อภัย...ในอิสลาม

       

การให้อภัยจึงเป็นส่วนหนึ่งจากจริยธรรมอันสูงส่ง และเป็นมารยาทอย่างหนึ่งของการคบหาสมาคม เนื่องจากในการดำเนินชีวิตทางสังคมนั้นเราจะพบว่า มีน้อยคนนักที่สิทธิต่างๆ ของเขามิเคยถูกล่วงละเมิดจากผู้อื่น ดังนั้นการที่จะให้สังคมเกิดความสงบสุขได้นั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการให้อภัย ซึ่งเป็นที่มาของความร่วมมือ ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รวมไปถึงความรักเเละความเห็นอกเห็นใจกัน

      หนึ่งในพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮ์ (ซ.บ) นั้นคือ "อัลอะฟูวุ" (العَفُوُّ) ซึ่งหมายถึง “ผู้ทรงให้อภัยยิ่ง”  มีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานถึง 5 ครั้ง และคุณลักษณะของพระองค์ที่เกี่ยวกับการให้อภัยและการยกโทษนั้น ก็มีอยู่จำนวนมากในเกือบทุกบทของอัลกุรอาน  เพื่อที่จะสื่อให้มนุษย์ได้รู้ว่า พระองค์นั้นทรงเป็นผู้ให้อภัยยิ่งต่อปวงบ่าวของพระองค์ และทรงรักการให้อภัยเป็นอย่างยิ่ง โดยอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงกำชับให้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นคนที่รู้จักให้อภัยผู้อื่น ไม่ถือโทษโกรธเคือง อาฆาตมาดร้าย หรือผูกพยาบาท  ถึงแม้ว่าบรรดาศัตรูของท่านจะสร้างความเจ็บปวดและก่อกรรมทำเข็ญต่อท่านอย่างหนักหนาสาหัสสักเพียงใดก็ตาม

      อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงตรัสต่อท่านศาสดาของพระองค์ว่า :

"จงอภัยให้พวกเขาเถิด เเละจงละวาง (จากการถือโทษโกรธเคืองพวกเขา) เเท้จริงอัลลอฮ์ ทรงรักบรรดาผู้ประพฤตดี" (อัลกุรอานบทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 13)

      ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ก็ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า : "เเท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่ง พระองค์ทรงรักการให้อภัย"

      เเละท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั้นคือต้นแบบที่งดงามยิ่งในเรื่องของการให้อภัย ท่านไม่เคยผูกใจเจ็บหรืออาฆาตพยาบาทต่อผู้ประชาชาติที่เป็นศัตรูกับท่าน แต่ท่านมักจะวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ให้บุคคลเหล่านั้นเสมอ โดยกล่าวว่า : "โอ้พระผู้เป็นเจ้า! โปรดนำทางกลุ่มชนของข้าพระองค์ด้วยเถิด เเท้จริงพวกเขาไม่รู้"

      การให้อภัยจึงเป็นส่วนหนึ่งจากจริยธรรมอันสูงส่ง และเป็นมารยาทอย่างหนึ่งของการคบหาสมาคม เนื่องจากในการดำเนินชีวิตทางสังคมนั้นเราจะพบว่า มีน้อยคนนักที่สิทธิต่างๆ ของเขามิเคยถูกล่วงละเมิดจากผู้อื่น ดังนั้นการที่จะให้สังคมเกิดความสงบสุขได้นั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการให้อภัย ซึ่งเป็นที่มาของความร่วมมือ ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รวมไปถึงความรักเเละความเห็นอกเห็นใจกัน

อิสลามกับการให้อภัย 

       ศาสนาอิสลามถือว่าการให้อภัยเป็นคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ เนื่องจากสังคมมนุษย์เป็นสังคมที่หลากหลาย ย่อมต้องมีการละเมิด การเบียดเบียนและการกระทบกระทั่งกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการให้อภัยกันจึงเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีแต่ความสงบสุขและความสมานฉันท์ คนที่ให้อภัยก็มีความสุข และคนที่ได้รับการให้อภัยก็มีความสุขเช่นเดียวกัน

      ดังที่อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงยกย่องและชื่นชมผู้ที่ให้อภัยไว้ในอัลกุรอาน และทรงนับว่ามันคือคุณลักษณะหนึ่งของบรรดาผู้ยำเกรง (มุตตะกีน) โดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า :

"(บรรดาผู้ยำเกรงนั้น) คือบรรดาผู้ที่บริจาคทั้งในยามสุขสบายและในยามเดือดร้อน และบรรดาผู้ระงับความโกรธ (ของตัวเอง) เเละบรรดาผู้ให้อภัยเเก่เพื่อนมนุษย์ และอัลลอฮ์ทรงรักบรรดาผู้ประพฤติดี"

(อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 134) 

      และในอัลกุรอานบทอัชชูรอ โองการที่ 40  "ผู้ใดให้อภัยและแก้ไขปรับปรุงให้ดีนั้น รางวัลของเขาอยู่กับอัลลอฮ์"

      และมีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ซึ่งกล่าวว่า : "ผู้ใดที่ระงับจิตใจของตนเมื่อเกิดความปรารถนา เมื่อเกิดความหวั่นกลัวและเมื่อเกิดความโกรธ อัลลอฮ์จะทรงห้ามเรือนร่างของเขาจากไฟนรก"

การให้อภัย คือจริยธรรมที่ดีงามที่สุด

     "การให้อภัย" อิสลามได้ให้ความสำคัญต่อการให้อภัย และถือว่าเป็นคุณธรรมที่ดีงามที่สุด โดยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า : "จะให้ฉันชี้แนะแก่พวกท่านไหม ถึงจริยธรรมที่ดีเลิศที่สุดทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (นั่นคือการที่) ท่านจะเชื่อมสัมพันธ์ต่อบุคคลที่ตัดสัมพันธ์ต่อท่าน และให้แก่บุคคลที่ลิดรอนท่าน และท่านจะให้อภัยแก่บุคคลที่อธรรมต่อท่าน"

ประเด็นต่างๆ ที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการให้อภัย 

  1. การให้อภัยในความหมายข้างต้นที่เป็นเกี่ยวกับส่วนบุคคลเท่านั้น จึงควรค่าแก่การยกย่องแต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวมและเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า (หรือฮักกุลลอฮ์) นั้น การให้อภัยและการไม่ถือโทษเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และสมควรต่อการถูกตำหนิ

      ในแบบอย่างหรือซุนนะฮ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั้นท่านจะไม่ให้อภัยและจะลงโทษบุคคลทั้งหลายที่ล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า และในกรณีใดที่มีบทลงโทษจากอัลลอฮ์ (ซบ.) กำหนดไว้อย่างชัดเจน ท่านก็จะดำเนินการตามบทลงโทษนั้นๆ โดยไม่มีข้อผ่อนปรน และใครก็ไม่อาจให้ความอนุเคราะห์ต่อผู้กระทำผิดได้ ยกตัวอย่างเช่น 

      สตรีผู้หนึ่งจากครอบครัวที่มีเกียรติของชาวกุเรช ซึ่งมีนามว่า "ฟาฏิมะฮ์" ได้ทำการลักขโมย ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้ออกคำสั่งให้ดำเนินการลงโทษนาง ประชาชนจากเผ่าบนีมัคซูมรู้สึกไม่พอใจอย่างรุนเเรง จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อยับยั้งการลงโทษนั้น โดยขอร้องอุซามะฮ์ บินซัยด์ ซึ่งมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษต่อท่านศาสนทูต (ซ็อลฯ) ให้เจรจากับท่านในเรื่องนี้ ท่านศาสนทูต (ซ็อลฯ) รู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมาก และกล่าวว่า : "เจ้าจะให้การอนุเคราะห์ (แก่ผู้อื่น) เกี่ยวกับบทลงโทษของอัลลอฮ์กระนั้นหรือ"

  1. กรณีที่จะเรียกว่าเป็น"การให้อภัย" นั้นคือในสภาวะที่คนเรามีความสามารถแก้แค้นหรือตอบโต้การกระทำผิดของผู้อื่นได้ แต่เขามิได้กระทำการตอบโต้หากแต่การนิ่งเงียบหรือการวางเฉย เนื่องจากการที่ไม่สามารถตอบโต้ได้นั้นไม่อาจนับว่าเป็นการให้อภัย อีกทั้งยังเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเคียดแค้นและความเกลียดชัง ซึ่งคุณลักษณะทั้งสองประการนี้ เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วอีกมากมาย เช่น การคาดคิดในทางไม่ดี การอิจฉาริษยา การนินทา เเละการใส่ร้ายป้ายสี เป็นต้น และด้วยเหตุผลนี้เองอิสลามจึงได้กำชับให้มุสลิมทุกคนให้การช่วยเหลือผู้ที่ถูกอธรรม และปกป้องสิทธิต่างๆ ของพวกเขาจากบรรดาผู้กดขี่ เพื่อที่ว่าความเคียดเเค้นของเขาจะได้ไม่สะสมจนกระทั่งทำให้หัวใจที่ผ่องเเผ้วและใสบริสุทธิ์ต้องถูกทำลายลงไป

     ภาคผลของการให้อภัยและการระงับความโกรธในขณะที่มีความสามารถนั้น มีคำรายงานมากมาย ดังตัวอย่างที่ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้กล่าวว่า : "โอ้องค์พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ บ่าวคนใดของพระองค์ที่เป็นที่รักยิ่งของพระองค์" อัลลอฮ์ทรงตอบว่า : "ผู้ซึ่งเมื่อเขามีความสามารถเขาก็ให้อภัย"

      ท่านอมีรุลมุอ์มินนีน อิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวในเรื่องนี้เช่นกันว่า : "เมื่อท่านมีอำนาจเหนือศัตรูของท่าน ดังนั้นจงให้อภัยต่อเขา เพื่อขอบคุณ (ต่ออัลลอฮ์) ในอำนาจที่มีเหนือเขา"

  1. บ่อยครั้งที่คนเรากระทำผิดและละเมิดสิทธิต่างๆ ของผู้อื่น และก็มีความคาดหวังที่จะให้ผู้อื่นอภัยให้ตนเองแต่ตัวเขาเองก็ไม่เคยที่จะให้อภัยให้แก่ผู้อื่นเลยด้วยเหตุนี้ผู้ที่คาดหวังจะให้ผู้อื่นอภัยในความผิดของตน ตัวเขาเองก็จะต้องให้อภัยต่อความผิดของผู้อื่นด้วยเช่นกัน และผู้ที่ตอบโต้ความเลวร้ายของผู้อื่นด้วยวิธีการแก้แค้นและเอาคืนนั้น จะเป็นเหตุทำให้ความเคียดแค้นชิงชังและความเป็นศัตรูกันในระหว่างพวกเขาเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่หากเราตอบโต้ความไม่ดีงามหรือความผิดของผู้อื่นด้วยกับการทำดีตอบ ด้วยวิธีการนี้จะทำให้เขาสามารถทำให้ฝ่ายตรงข้ามคุกเข่ายอมสยบต่อเขาได้ ความเคียดเเค้นชิงชังและความเป็นศัตรูของเขาก็จะเปลี่ยนเป็นความรักและกลายเป็นมิตรสนิท

      ดังที่มีกล่าวไว้อัลกุรอานความว่า : "ความดีและความเลวนั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน เจ้าจงตอบโต้ (การกระทำที่เลวร้ายของผู้อื่น) ด้วยสิ่งที่ดีงามกว่า เมื่อนั้นผู้ซึ่งระหว่างเจ้าและระหว่างเขามีความเป็นศัตรูกันก็จะ (เปลี่ยนมา) ประหนึ่งเป็นมิตรสนิท" (อัลกุรอานบทฟุตซีลัต โองการที่ 34)

      ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวในเรื่องนี้เช่นกันว่า : "ท่านจงตำหนิพี่น้องของท่าน (เมื่อเขากระทำผิด) ด้วยการทำดีต่อเขา และจงตอบโต้ความชั่วร้ายของเขาด้วยการให้สิ่งที่ดีงามแก่เขา"

กล่าวโดยสรุป

       การให้อภัยและการไม่ถือโทษโกรธเคืองนั้น คือผลพวงประการหนึ่งของความศรัทธาและคุณธรรมอันสูงส่ง และใครก็ตามที่ละวางต่อความผิดของผู้อื่น พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ก็จะทรงละวางความผิดบาปต่าง ๆ ของเขาด้วยเช่นกัน และพระองค์จะทรงทำให้เขาเข้าอยู่ในความเมตตา และการอภัยโทษของพระองค์ ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า :

وَإِن تَعْفُوا وَتَصْفَحُوا وَتَغْفِرُوا فَإِنَّ اللَّـهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ

"และหากพวกเจ้าให้อภัย ละวางและไม่ถือโทษ (อัลลอฮ์ก็จะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า) เพราะแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอภัยโทษยิ่ง อีกทั้งทรงเมตตายิ่ง"

(อัลกุรอานบทอัตตะฆอบุน โองการที่ 14)


แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม