foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

เรื่องราวของบาทหลวงคริสเตียนเข้ารับอิสลามเนื่องจากคำว่า "Parakletos"

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นชนเผ่ากุเรชมาจากตระกูลบนีฮาชิม บิดาของท่านชื่อว่า อับดุลลอฮ์ เป็นบุตรของท่านอับดุลมุฏ็อลลิบ ซึ่งเป็นหลานของฮาชิม มารดาของท่านชื่อว่า ท่านหญิงอามีนะฮ์ คอตูน เป็นบุตรีของวะฮับ ซึ่งมาจากตระกูล บนี ซุฮ์เราะฮ์เป็นชนเผ่ากุเรชเช่นกัน

     ท่านอับดุลลอฮ์ หลังจากแต่งงานแล้วได้เดินทางไปเมืองชาม (ซูเรีย) แต่หลังจากเดินทางกลับจากเมืองชาม ท่านได้ไปสิ้นชีวิตที่เมืองมะดีนะฮ์และฝังอยู่ที่นั่น

     หลังจากท่านอับดุลลอฮ์ได้สิ้นชีวิตประมาณสองสามเดือน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาที่เมื่องมักกะฮ์ ในเดือนเราะบีอุลเอาวัล ปี ค.ศ.571 ซึ่งการกำเนิดของท่านได้สร้างความสว่างไสวให้กับโลกอย่างยิ่ง หลังจากที่ท่านได้ถือกำเนิดขึ้นมาท่านหญิงอามินะฮ์มารดาของท่าน ได้มอบท่านให้กับท่านหญิงฮะลีมะฮ์ ซะอ์ดียะฮ์ ซึ่งเป็นชนเผ่าซะอ์ด์ตามประเพณีนิยมของชนอาหรับในสมัยนั้น เพื่อให้ท่านหญิงให้นมแก่ท่านศาสดา ท่านได้ดื่มนมฮะลีมะฮ์อยู่นานถึงสี่ปี หลังจากนั้นท่านหญิงอามินะฮ์ได้มารับตัวท่านเพื่อเดินทางไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ฝ่ายบิดาที่เมืองมะดีนะฮ์  ซึ่งระหว่างเดินทางกลับมารดาของท่านได้สิ้นชีวิตลง และได้ฝังร่างอยู่ที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อว่า “อับวาอ์” เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์

     หลังจากนั้นท่านได้อยู่ในการดูแลของปู่คือ ท่านอับดุลมุฏ็อลลิบ และท่านอบูฏอลิบบิดาของท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้เป็นลุง ในเวลาต่อมา เมื่ออายุได้ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ท่านได้สมรสกับท่านหญิงคอดิญะฮ์ซึ่งขณะนั้นมีอายุสี่สิบปี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่านหญิงนานถึงยี่สิบห้าปี และท่านหญิงได้เสียชีวิตลงเมื่ออายุครบหกสิบห้าปี

เมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีอายุได้สี่สิบปี อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้เลือกให้ท่านเป็นศาสนทูตของพระองค์ พร้อมทั้งประทานอัลกุรอานคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ทั้งมนุษย์และญินไร้ความสามารถในการนำมาซึ่งสิ่งที่คล้ายหรือเหมือนได้ พระองค์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นศาสดาองค์สุดท้ายและเป็นผู้มีมารยาทสมบูรณ์ที่สุด

     การกล่าวอ้างและยืนยันการเป็นศาสดาไม่ได้เป็นที่ปิดบังสำหรับใครคนใดคนหนึ่งทีว่าประมาณปี ค.ศ. 611 ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศการเป็นศาสดาของท่าน ณ เมืองมักกะฮ์ ขณะที่โลกส่วนใหญ่ได้เคารพบูชารูปปั้น เจว็ดต่าง ๆ บูชาไฟ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ อีกมากมาย ท่านศาสดาได้ประกาศเชิญชวนประชาชนมาสู่ศาสนาอิสาลาม จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญ ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากได้ยอมรับคำประกาศและเข้าสู่อิสลาม

     ก่อนการมาของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) บรรดานักวิชาการชาวคริสต์ไม่มีความขัดแย้งกับคำที่ว่า “Parakletos” นั้น หมายถึง “อะห์มัด” และ “มุฮัมมัด” แต่หลังจากการถือกำเนิดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เพื่อที่จะรักษาความเป็นผู้นำและผลประโยชน์ทางวัตถุของตนเองให้คงอยู่ต่อไปนั้น พวกเขาได้ตีความและบิดเบือนความหมายของมันเป็นอย่างอื่น และแน่นอนยิ่งว่าความหมายใหม่ที่พวกเขาอุตริขึ้นมานั้นไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของเจ้าของคัมภีร์อิลญีล (ไบเบิล)

     วันที่ 27 เดือนร่อญับ ปีที่ 40 หลังจาก “อามุ้ลฟีล” (ปีช้าง) กล่าวคือ 13 ปีก่อนการอพยพ (ฮิจเราะฮ์) เป็นวันแห่งการย้ำเตือนความทรงจำถึงปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกอิสลาม นั่นคือ การที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงแต่งตั้งท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ให้เป็นศาสนทูตท่านสุดท้าย ก่อนหน้านั้นบรรดาศาสนาแห่งพระเจ้าก็ได้แจ้งข่าวดีเกี่ยวกับการเป็นศาสดาของมหาบุรุษท่านนี้ไว้เช่นกัน ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้มีคำถามมากมายถูกหยิบยกขึ้นมา อย่างเช่น นักอรรถาธิบายคัมภีร์บางคนเข้าใจผิดโดยเปลี่ยนเอาคำว่า "Parakletos" ซึ่งในภาษากรีกมีความหมายว่า “ผู้สนับสนุน” และ “ผู้ช่วยเหลือ” เข้าไปแทนที่คำว่า "Periklutos" ซึ่งในภาษากรีก มีความหมายว่า “ผู้มีชื่อเสียง” และ “ผู้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ” และได้นำเอาคำนี้มาเทียบเคียงกับศาสดาของพวกเขา

     สถาบันค้นคว้าวิจัยและตอบปัญหาข้อเคลือบแคลงสงสัยของสถาบันศึกษาศาสนา (เฮาซะฮ์อิลมียะฮ์) แห่งเมืองกุม ได้มีคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า :

     สัญญาและข่าวดีเกี่ยวกับการมาของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ตามคำกล่าวที่ชัดเจนของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์เตาร๊อต (โตราห์) และคัมภีร์อินญีล ((ไบเบิล) และการยอมรับคัมภีร์อัลกุรอานจะก่อให้เกิดความมั่นใจแก่มนุษย์ว่า ชื่อของท่านศาสดาแห่งอิสลามและการแจ้งข่าวดีเกี่ยวกับการเป็นศาสดา (นุบูวะฮ์) ของท่าน มีปรากฏอยู่อย่างมากมายและชัดเจนในคัมภีร์เตาร๊อด (โตราห์) และคัมภีร์อินญีล (ไบเบิล) ฉบับดั้งเดิม ด้วยผลของการบิดเบือนที่เกิดขึ้นกับคัมภีร์ทังสองนี้ ได้ทำให้กรณีต่างๆ เหล่านี้ถูกลบเลือนออกไป

     โดยรวมแล้วนักวิชาการชาวยิวและชาวคริสเตียนส่วนใหญ่และนักวิชาการมุสลิมทั้งหมดเชื่อว่า คัมภีร์ “เตาร๊อต” (โตราห์) นั้นถูกบิดเบือนไปแล้ว และคัมภีร์โตราห์ในปัจจุบันนี้ถูกเขียนขึ้นหลังจากการพิชิตอาณาจักรบาบิโลนในยุคของบรรดาปุโรหิต (หมายถึง 500 ปีก่อนคริสตกาลและหลายศตวรรษหลังจากการเสียชีวิตของของศาสดามูซา (อ.) หรือ โมเสส) และคัมภีร์อัลกุรอานเองก็ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า :

مِّنَ الَّذِينَ هَادُوا يُحَرِّفُونَ الْكَلِمَ عَن مَّوَاضِعِهِ

"บางคนในหมู่ชาวยิวได้บิดเบือนบรรดาถ้อยคำให้หันเหออกจากตำแหน่งของมัน"

(อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 46)

    และกล่าวว่า :

فَوَيْلٌ لِّلَّذِينَ يَكْتُبُونَ الْكِتَابَ بِأَيْدِيهِمْ ثُمَّ يَقُولُونَ هَٰذَا مِنْ عِندِ اللَّهِ لِيَشْتَرُوا بِهِ ثَمَنًا قَلِيلًا

"ดังนั้นความวิบัติจงประสบกับบรรดาผู้ที่เขียนคัมภีร์ขึ้นด้วยมือของตนเอง แล้วกล่าวว่าสิ่งนี้มาจากอัลลอฮ์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับราคาอันเล็กน้อย"

(อัลกุรอานบทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 79)

     เกี่ยวกับคัมภีร์อินญีล (ไบเบิล) ก็เช่นกัน ชาวมุสลิมเชื่อว่าคัมภีร์อินญีล (ไบเบิล) ที่ถูกประทานลงมาให้แก่ทานศาสดาอีซา (อ.) หรือพระเยซูนั้นถูกทำลายไปแล้ว และชาวคริสต์เองก็เชื่อว่าไม่มีคัมภีร์ใดถูกประทานลงมาให้แก่ท่านศาสดาอีซา (อ.) ทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากตัวท่านศาสดาอีซา (อ.) หรือพระเยซูนั้นคือ วะห์ยู (วิวรณ์) ที่เป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว และเป็น “กะลีมะตุลลอฮ์” (พระคำแห่งพระเจ้า) และพันธสัญญาใหม่ทั้งสี่ที่มีอยู่นั้นได้รับการคัดเลือกมาจากหมู่คัมภีร์ไบเบิลเกือบ 100 ฉบับ ที่ถูกเขียนโดยสาวก (หะวารียูน) และสานุศิษย์ของพระเยซู

     เมื่อพิจารณาจากบทนำข้างต้นที่ชี้ให้เห็นถึงการถูกบิดเบือนของคัมภีร์เตาร๊อต (โตราห์) และการถูกทำลายของคัมภีร์อินญีล (ไบเบิล) และการยอมรับของบรรดานักวิชาการและนักค้นคว้าวิจัยชาวยิวและชาวคริสต์ ดังนั้นจึงไม่อาจที่จะคาดหวังได้ว่า ชื่อของท่านศาสดาของอิสลาม (ซ็อลฯ) จะมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์โตราห์และไบเบิลในปัจจุบันอย่างชัดเจน ดังนั้นการที่คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า :

وَإِذْ قالَ عیسَی ابْنُ مَرْیَمَ یا بَنی إِسْرائیلَ إِنِّی رَسُولُ اللَّهِ إِلَیْکُمْ مُصَدِّقاً لِما بَیْنَ یَدَیَّ مِنَ التَّوْراةِ وَ مُبَشِّراً بِرَسُولٍ یَأْتی مِنْ بَعْدِی اسْمُهُ أَحْمَدُ فَلَمَّا جاءَهُمْ بِالْبَیِّناتِ قالُوا هذا سِحْرٌ مُبین

“และจงรำลึก เมื่ออีซาบุตรของมัรยัม ได้กล่าวว่า โอ้วงศ์วานของอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันคือศาสนทูตของอัลลอฮ์ที่มายังพวกท่าน เพื่อเป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ใน (คัมภีร์) เตาร๊อต ที่มาก่อนหน้าฉัน และเป็นผู้แจ้งข่าวดีถึงศาสนทูตคนหนึ่งที่จะมาภายหลังฉัน ชื่อของเขาคือ อะห์มัด ครั้นเมื่อเขา (อะห์มัด) ได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้งแล้ว พวกเขาก็กล่าวว่านี่คือมายากลอันชัดแจ้ง”

(อัลกุรอานบทอัศศ็อฟฟุ โองการที่ 6)

    จึงไม่มีสำนวนประโยคที่อ้างอิงปรากฏอยู่ในคัมภีร์อินญีล (พระวรสาร) ของนักบุญยอห์น (โยฮันนา) แต่ทว่าคัมภีร์อัลกุรอานได้อ้างคำพูดโดยตรงจากการแจ้งข่าวดีของศาสดาอีซา (อ.) หรือพระเยซู ที่ท่านได้ให้ไว้แก่วงศ์วานของอิสราเอล คัมภีร์อัลกุรอานเองไม่เคยบอกว่าประโยคคำพูดเหล่านี้ของศาสดาอีซา (อ.) มีปรากฏอยู่ในพระวรสารต่างๆ หรือในพระวรสารของนักบุญจอห์น ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับศาสดาอีซา (อ.) เลย

     แต่กระนั้นก็ตามไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลยว่า ส่วนหนึ่งของคำสอนของท่านศาสดาอีซา (อ.) และเนื้อหาของคัมภีร์อันบริสุทธิ์ของท่านจะถูกอ้างไว้ในพระวรสารเหล่านี้จากคำพูดของบรรดาสาวกของท่าน ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่สามารถยอมรับเนื้อหาทั้งหมดที่มีอยู่ในพระวรสารเหล่านี้ได้ และก็ไม่สามารถปฏิเสธเนื้อหาทั้งหมดของมันได้ ทว่ามันคือสิ่งที่ผสมปนเประหว่างคำสอนของศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้กับทัศนะและความคิดของบุคคลอื่นๆ

     ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในพระวรสารนักบุญจอห์นไม่มีสำนวนประโยคที่มีความสอดคล้องตรงกับกับศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ผู้เป็นศาสดาแห่งยุคสุดท้าย (อาคิรุซซะมาน) และด้วยเหตุนี้เองในพระวรสารต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงพบเห็นสำนวนประโยคมากมายที่แจ้งข่าวดีถึงการมาของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่สัญลักษณ์บ่งชี้ต่างๆ ของมันไม่อาจเทียบเคียงกับสิ่งใดได้นอกจากอิสลามและศาสดาของอิสลาม

     หนึ่งในกรณีเหล่านี้ ก็คือคำว่า "Parakletos" ภาษาซิรยานี (Syriac) ที่มีปรากฏอยู่ในพระวรสารนักบุญจอห์น คำนี้ในภาษาอาหรับออกเสียงว่า " فارقلیط"  (ฟารักลีฏ) และในภาษากรีกเขียนว่า "Periklutos"  ในที่นี้ไม่มีใครปฏิเสธหรือคลางแคลงสงสัยได้ว่า ท่านศาสดาอีซา (อ.) ได้แจ้งข่าวดีถึงบุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่า "Parakletos” หรือ “Periklutos” ที่จะมาหลังจากตนไว้ ตามคำอ้างของคัมภีร์ไบเบิล (พระวรสารนักบุญยอห์น) ท่านศาสดาอีซา (อ.) ได้แจ้งข่าวการมาของบุคคลผู้หนึ่งหลังจากตน โดยที่บทบัญญัติของเขาผู้นั้นจะเป็นนิรันดร์ และการปกครองของเขาจะดำรงอยู่ตลอดไป

     เราจะยกตัวอย่างบางส่วนของประโยคเหล่านี้ไว้ ณ ที่นี้ :

- 16:12 เรายังมีอีกหลายสิ่งที่จะบอกท่านทั้งหลาย แต่เดี๋ยวนี้ท่านยังรับไว้ไม่ได้

- 16:13 เมื่อพระองค์ พระวิญญาณแห่งความจริงจะเสด็จมาแล้ว พระองค์จะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล เพราะพระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่พระองค์จะตรัสสิ่งที่พระองค์ทรงได้ยิน และพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น

- 14:16 เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์จะทรงประทานผู้ปลอบประโลมใจ (Comforter, Gr. Parakletos) อีกผู้หนึ่งให้แก่ท่าน เพื่อพระองค์จะได้อยู่กับท่านตลอดไป

- 15:26 แต่เมื่อพระองค์ผู้ปลอบประโลมใจที่เราจะใช้มาจากพระบิดามาหาท่านทั้งหลาย คือพระวิญญาณแห่งความจริง ผู้ทรงมาจากพระบิดานั้นได้เสด็จมาแล้ว พระองค์นั้นจะทรงเป็นพยานถึงเรา

- 16:7 อย่างไรก็ตามเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย คือการที่เราจากไปนั้นก็เพื่อประโยชน์ของท่าน เพราะถ้าเราไม่ไป พระองค์ผู้ปลอบประโลมใจก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไปแล้ว เราก็จะใช้พระองค์มาหาท่าน

- 16:8 เมื่อพระองค์นั้นเสด็จมาแล้ว พระองค์จะทรงกระทำให้โลกรู้สึกถึงความผิดบาป และถึงความชอบธรรม และถึงการพิพากษา

- 16:13 เมื่อพระองค์ พระวิญญาณแห่งความจริงจะเสด็จมาแล้ว พระองค์จะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล เพราะพระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่พระองค์จะตรัสสิ่งที่พระองค์ทรงได้ยิน และพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น

- 16:15 ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมีนั้นเป็นของเรา เหตุฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า พระวิญญาณทรงเอาสิ่งซึ่งเป็นของเรานั้นมาสำแดงแก่ท่านทั้งหลาย

     ดังที่ได้ชี้ให้เห็นไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า “Parakletos” ในภาษาซิรยานี (Syriac) นั้นหมายถึง “ผู้ที่ได้รับการสรรเสริญอย่างมาก” ซึ่งอ่านออกเสียงในภาษาอาหรับว่า " فارقلیط"  (ฟารักลีฏ) และความหมายของมันตรงกับภาษาอาหรับว่า “อะห์มัด” (احمد) ซึ่งคัมภีร์อัลกุรอานได้ชี้ถึงมัน และคัมภีร์อิลญีล (ไบเบิล) ดั้งเดิมนั้นเป็นภาษาซิรยานี (Syriac) และต่อมาถูกแปลเป็นภาษากรีก และคำนี้จึงถูกแปลเป็น “Periklutos” หรือ “Parakletos” สำนวนประโยคเหล่านี้ของพระวรสารไม่อาจเทียบเคียงเป็นผู้อื่นได้ นอกจากศาสดาของอิสลาม

     “ฟัครุ้ลอิสลาม” เจ้าของหนังสือ “อะนีซซุลอะอ์ลาม” ซึ่งเป็นหนึ่งในบาทหลวงผู้มีชื่อเสียงของคริสตจักร สำเร็จการศึกษามาจากบรรดาบาทหลวงชาวคริสต์ และได้รับตำแหน่งสูง ณ บุคคลเหล่านั้น ในบทนำของหนังสือนี้เขาได้อธิบายถึงเรื่องราวที่น่าประทับใจเกี่ยวกับการเข้ารับอิสลามของตนเองไว้เช่นนี้ว่า :

     “หลังจากการค้นหาอย่างมากมายด้วยความเหนื่อยยากเป็นพิเศษ และการเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ผมก็ได้ไปพบบาทหลวงผู้มีสถานะสูงส่งท่านหนึ่ง ซึ่งในด้านของความสมถะและความสำรวมตนนั้นมีความยอดเยี่ยมยิ่งนัก ผมใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนเกี่ยวกับมัซฮับ (นิกาย) ต่างๆ ของคริสเตียนกับท่านเป็นระยะเวลาหนึ่ง ท่านมีลูกศิษย์มากมาย แต่ท่ามกลางทั้งหมดเหล่านั้น ท่านจะมีความรักผูกพันเป็นพิเศษกับผม กุญแจบ้านทั้งหมดท่านมอบไว้ที่ผม ยกเว้นกุญแจตู้ของบ้านดอกหนึ่งที่ท่านจะเก็บไว้กับตัวเอง

      วันหนึ่งบาทหลวงท่านนี้มีความผิดปกติได้เกิดขึ้นกับท่าน ท่านได้กล่าวกับผมให้บอกกับสานุศิษย์ทั้งหลายว่า “ฉันไม่มีอารมณ์ที่จะทำการสอน” เมื่อผมกลับมาจากบรรดาสานุศิษย์ ผมเห็นท่านกำลังหมกมุ่นอยู่กับการค้นคว้าคำว่า “Parakletos” ในภาษาซิรยานี (Syriac) และคำว่า “Periklutos” ในภาษากรีก

      เมื่อผมหยิบยกประเด็นความขัดแย้งของเนื้อหานี้ต่อบาทหลวง และหลังจากการถามตอบต่างๆ ระหว่างผมกับบาทหลวง ท่านกล่าวว่า “ความจริงและความถูกต้องนั้น ตรงข้ามกับทัศนะทั้งหมดเหล่านี้ เนื่องจากไม่มีใครรู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ได้นอกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ (รอซิคูน) ในความรู้เพียงเท่านั้น และน้อยคนที่จะรับรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว”

      ผมได้รบเร้าท่านให้อธิบายความหมายของมันแก่ผม ท่านได้ร้องไห้อย่างหนักและกล่าวว่า “ฉันจะไม่ปิดบังอำพรางสิ่งใดต่อเจ้าในการรับรู้ความหมายของคำนามนั้น ซึ่งมีผลที่สำคัญอย่างมาก แต่จะรับรู้ได้เพียงฉันและเจ้าเท่านั้น หากเจ้าสัญญาว่าจะไม่บอกใคร ฉันจะเปิดเผยความหมายนี้แก่เจ้า” ฉันได้สาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (มุก็อดดะซาต) ทั้งหลายแล้วว่า จะไม่เปิดเผยชื่อของบุคคลผู้นี้ ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า “นี่คือชื่อหนึ่งจากบรรดาชื่อของศาสดาของชาวมุสลิม และมีความหมายว่า “อะห์มัด” และ “มุฮัมมัด”

      ต่อจากนั้นท่านได้ยื่นกุญแจห้องเล็กดังกล่าวแก่ผมและบอกว่า “จงเปิดประตูห้องนั้น และจงหยิบหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ แล้วเอามาที่นี่” ผมนำหนังสือสองเล่มมาให้ท่าน หนังสือสองเล่มนี้เป็นภาษากรีกและภาษาซิรยานี (Syriac) ซึ่งถูกเขียนขึ้นบนแผ่นหนังก่อนการมาของศาสดาของอิสลาม

      ในหนังสือทั้งสองเล่ม คำว่า "Parakletos" จะให้ความหมายว่า “อะห์มัด” และ “มุฮัมมัด” ต่อจากนั้นอาจารย์ได้กล่าวเสริมว่า “ก่อนการมาของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) บรรดานักวิชาการชาวคริสต์ไม่มีความขัดแย้งกันที่ว่า คำว่า “Parakletos” นั้นหมายถึง “อะห์มัด” และ “มุฮัมมัด” แต่หลังจากการถือกำเนิดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เพื่อที่จะรักษาความเป็นผู้นำและผลประโยชน์ทางวัตถุของตนเองให้คงอยู่ต่อไปนั้น พวกเขาได้ตีความและบิดเบือนความหมายของมันเป็นอย่างอื่น และแน่นอนยิ่งว่าความหมายใหม่ที่พวกเขาอุตริขึ้นมานั้นไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของเจ้าของคัมภีร์อิลญีล (ไบเบิล)”


ที่มา : farsnews

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม