foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

Get Adobe Flash player

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

การประจบสอพลอผู้มีอำนาจ สาเหตุการล่มสลายของรัฐบาล

     ส่วนหนึ่งจากผลพวงที่เลวร้ายของการประจบสอพลอและการสรรเสริญเยินยอ นั่นก็คือความต่ำต้อยและความไร้เกียรติศักดิ์ศรี ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ บุคคลที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ อันดับแรกเขาได้ทำลายบุคลิกภาพของตัวเองที่ได้ประจบสอพลอและสรรเสริญเยินยอมนุษย์ที่มีความอ่อนแอเหมือนกับตนเอง ต่อจากนั้นเขาได้ยอมรับสารภาพถึงความอ่อนแอและการไร้ความสามารถของตนเอง ปิดกั้นหนทางแห่งการพัฒนาและความสมบูรณ์ (กะม้าล) ไปจากตนเอง พฤติกรรมอันน่าเกลียดนี้ยังมีผลกระทบที่เสียหายอื่นๆ ต่อระบอบการเมืองและชนชั้นนำทางการเมืองด้วยเช่นกัน

ผลร้ายของการประจบสอพลอ ในมุมมองของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

    ส่วนหนึ่งจากสภาวะต่างๆ ซึ่งโดยปกติมักจะเกิดขึ้นกับผู้มีอำนาจ นั่นก็คือ เรื่องของความปรารถนาที่จะได้รับการสรรเสริญเยินยอจากบุคคลอื่น มนุษย์ผู้อ่อนแอนั้นเพื่อผลประโยชน์ต่างๆ ในการดำเนินชีวิต การสนองตอบปัจจัยดำรงชีพ หรือเพื่อที่จะได้รับมาซึ่งตำแหน่งต่างๆ ทางวัตถุ เขาจะพูดคำสรรเสริญเยินยอกับทุกคนแม้กระทั่งคนเลว ในขณะที่การสรรเสริญและการสดุดีทั้งมวลนั้นเป็นของพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว เพราะพระองค์คือผู้ทรงอภิสิทธิ์อย่างแท้จริง ทรงเป็นพระผู้สร้างเพียงหนึ่งเดียว ทรงเดชานุภาพโดยสมบูรณ์ อีกทั้งทรงเป็นนิรันดร์

    แน่นอนยิ่ง หากมนุษย์มีความเชื่อมั่นในสิ่งนี้ที่ว่า ความง่ายดายในงานต่างๆ ความสุขสบายและการหลุดพ้นออกจากความทุกข์ยากทั้งปวง ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าเพียงเท่านั้น กระนั้นก็ตาม เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดูภายนอกเหมือนว่าจะดีกว่าเพียงไม่กี่ชั่วยาม เขาจะยังทำการประจบสอพลอและสรรเสริญเยินยอคนนั้นคนนี้อยู่อีกหรือ?

ความเสียหายของการประจบสอพลอ

    ส่วนหนึ่งจากผลพวงที่เลวร้ายของการประจบสอพลอและการสรรเสริญเยินยอ ก็คือความต่ำต้อยและความไร้เกียรติศักดิ์ศรี ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ บุคคลที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ อันดับแรกเขาได้ทำลายบุคลิกภาพของตัวเองที่ได้ทำการประจบสอพลอและสรรเสริญเยินยอมนุษย์ที่มีความอ่อนแอเหมือนกับตนเอง ต่อจากนั้นเขาได้ยอมรับสารภาพถึงความอ่อนแอและการไร้ความสามารถของตน ปิดกั้นหนทางแห่งการพัฒนาและความสมบูรณ์ (กะม้าล) ไปจากตนเอง พฤติกรรมที่เลวร้ายนี้ยังมีผลพวงที่เลวร้ายและเสียหายมากมายต่อระบอบการเมืองและต่อชนชั้นนำทางการเมืองอีกด้วย

    ในสังคมเช่นนี้ประชาชนจะประสบกับความอัปยศอดสูและถูกดูถูกเหยียดหยาม สูญเสียอัญมณีแห่งเกียรติศักดิ์ศรีของตนไป ทำให้โอกาสสำหรับคนดีและมีความคู่ควรคับแคบลง เปิดทางให้กับบุคคลที่ไร้ความคู่ควร กลายเป็นสังคมที่สร้างคนชั่วและผู้อธรรม ชนชั้นนำทางการเมืองจะไม่รับรู้ถึงสถานะและความเป็นจริงต่างๆ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจะมองเห็นตัวเอง บุคลิกภาพและสถานภาพของตนเองสูงส่งกว่าที่เป็นจริง ด้วยเหตุนี้หนึ่งในภารกิจที่สำคัญของท่านอิมามอะลี (อ.) คือการนำบุคลิกภาพของความเป็นมนุษย์และความสำนึกในเกียรติศักดิ์ศรีของประชาชนกลับคืนมา โดยท่านได้กล่าวว่า

وَإِیَّاكَ وَالاْعْجَابَ بِنَفْسِكَ، وَالثِّقَةَ بِمَا یُعْجِبُكَ مِنْهَا، وَحُبَّ الاْطْرَاءِ فَإِنَّ ذلِكَ مِنْ أَوْثَقِ فُرَصِ الشَّیْطَانِ فِی نَفْسِهِ، لِـیَمْحَقَ مَا یَکُونُ مِنْ إِحْسَانِ الْـمُحْسِنِینَ

“เจ้าจงระมัดระวังจากการหลงตนเอง การเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำให้เจ้าเกิดความลำพองตน และความปรารถนาอันแรงกล้าต่อการสรรเสริญเยินยอ เพราะแท้จริงสิ่งนั้นคือโอกาสที่ชัยฏอน (มารร้าย) มีความมั่นใจที่สุด ที่จะทำลายความดีงามของผู้ที่กระทำความดี” (1)

    ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นสรรเสริญเยินยอ คือการที่มนุษย์ได้ตกอยู่ในการคุกคามของซาตานมารร้ายแล้ว เนื่องจากความรักและความปรารถนาที่จะได้รับการสรรเสริญเยินยอ คือวิธีการของคนอ่อนแอ วันหนึ่งท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวคำปราศรัยในสงครามซิฟฟีน ในระหว่างการปราศรัยนั้น มีชายผู้หนึ่งกล่าวยกย่องสรรเสริญและแสดงออกถึงการชื่นชมท่านอย่างมากมาย ท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านได้ทำการปราศรัยต่อไปโดยกล่าวว่า

وَإِنَّ مِنْ أَسْخَفِ حَالاَتِ الْوُلاَةِ عِنْدَ صَالِحِ النَّاسِ، أَنْ یُظَنَّ بِهِمْ حُبُّ الْفَخْرِ، وَیُوضَعَ أَمْرُهُمْ عَلَى الْكِبْر وَقَدْ كَرِهْتُ أَنْ یَكُونَ جَالَ فِی ظَنِّكُمْ أَنِّی أُحِبُّ الاْطْرَاءَ، وَاسْتِماعَ الثَّنَاء

“แท้จริงส่วนหนึ่งจากสภาพที่หยาบช้าที่สุดของบรรดาผู้ปกครอง ในทัศนะของคนดีมีคุณธรรมนั้น ก็คือการที่พวกเขา (บรรดาผู้ปกครอง) ถูกคาดคิดว่ามีความรักความปรารถนาในชื่อเสียง ซึ่งกิจการงานของพวกเขาจะถูกนับว่าเป็นความหลงตนเอง ในขณะที่ฉันนั้นรังเกียจที่สิ่งนี้จะปรากฏขึ้นในความคิดของพวกท่าน ว่าแท้จริงฉันชอบการสรรเสริญและรับฟังการยกยอปอปั้น” (2)

     ตามทัศนะของท่านอิมามอะลี (อ.) การยกย่องชื่นชมและการสรรเสริญเยินยอบรรดาผู้นำ จะเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ของตนได้ไม่ดีเท่าที่ควร และไม่สามารถสนองตอบสิทธิต่างๆ ของประชาชนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ในอีกคำพูดหนึ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวว่า


یَنْبَغِی لِلْعَاقِلِ أَنْ یَحْتَرِسَ مِنْ سُكْرِ الْمَالِ وَ سُكْرِ الْقُدْرَةِ وَ سُكْرِ الْعِلْمِ وَ سُكْرِ الْمَدْحِ وَ سُكْرِ الشَّبَابِ فَإِنَّ لِكُلِّ ذَلِكَ ریاح خَبِیثَةً تَسْلُبُ الْعَقْلَ وَ تَسْتَخِفُّ الْوَقَارَ.

“สมควรอย่างยิ่งสำหรับคนมีปัญญา ที่เขาจะระวังรักษาตนเองจากความเมามายในทรัพย์สิน เมามายในความรู้ เมามายต่อการสรรเสริญเยินยอ และเมามายในความหนุ่มแน่น เพราะแท้จริงสำหรับทุกสิ่งเหล่านี้ มีลม (และกลิ่นไอ) ของพิษร้าย ที่จะทำลายสติปัญญาและความน่าเชื่อถือ” (3)

     ในการอธิบายถึงความหมายของการประจบสอพลอ ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวว่า

الثَّنَاءُ بِأَكْثَرَ مِنَ الِاسْتِحْقَاقِ مَلَقٌ وَ التَّقْصِیرُ عَنِ الِاسْتِحْقَاقِ عِیٌّ أَوْ حَسَدٌ

“การสรรเสริญเยินยอมากเกินความคู่ควร คือการประจบสอพลอและความบกพร่อง (จากความคู่ควร) คือความอ่อนแอหรือความอิจฉาริษยา” (4)

    และท่านได้กล่าวกับผู้ที่สรรเสริญเยินยอท่านจนเกินความเป็นจริง ในขณะที่ในหัวใจของเขาคือผู้กล่าวหาให้ร้ายท่านว่า

أَنَا دُونَ مَا تَقُولُ، وَفَوْقَ مَا فِی نَفْسِكَ

“ฉันนั้นเป็นน้อยกว่าสิ่งที่ท่านกำลังพูดถึง แต่สูงส่งกว่าสิ่งที่อยู่ในหัวใจของท่าน” (5)

     หนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญยิ่งของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติของท่าน คือการสร้างสังคมที่ประกอบไปด้วยบุคคลที่รักในเกียรติศักดิ์ศรีและเคารพตนเอง โดยเขาจะไม่รู้สึกต่ำต้อยและทำให้ตนเองไร้เกียรติศักดิ์ศรีต่อหน้ามนุษย์คนใด ไม่ว่าจะเป็นผู้มีฐานะตำแหน่งเช่นใด

     ประชาชนที่แสดงออกต่อปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างมีเหตุมีผลและเหมาะสม ไม่เกรงกลัวที่จะพูดความจริงต่อหน้าผู้ปกครองถึงแม้ว่าจะขมขื่นสักเพียงใดก็ตาม พวกเขาไม่พร้อมที่จะยอมแบกรับการกดขี่ใดๆ ในกรณีที่พบเห็นความผิดและการละเมิดเกิดขึ้นจากชนชั้นนำทางการเมือง พวกเขาก็จะนำบุคคลเหล่านั้นไปดำเนินคดี สังคมที่ดีงามในทัศนะของพวกเขา คือสังคมที่การประจบสอพลอ การยกยอปอปั้น การสรรเสริญเกินความเป็นจริงในระบบของการเมือง ชนชั้นผู้นำ ผู้บริหารและประชาชนทั่วไป จะต้องถูกขจัดไปจนหมดสิ้น

      บทสรุป : การประจบสอพลอและการสรรเสริญเยินยอ จะต้องไม่ทำให้เกิดความพึงพอใจต่อบรรดาเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจทางสังคม เนื่องจากในด้านหนึ่ง จะเป็นสาเหตุนำพาพวกเขาไปสู่ความเบี่ยงเบนและไม่อาจมองเห็นข้อบกพร่องต่างๆ ของตนเองได้ ในอีกด้านหนึ่งจะทำให้จิตวิญญาณของความต่ำต้อยและความไร้เกียรติศักดิ์ศรีเกิดขึ้นในหมู่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงสำหรับทุกสังคม เพราะการวิพากษ์วิจารณ์อย่างถูกต้องเหมาะสมและตรงต่อสถานการณ์ที่มีต่อบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐ นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปรับปรุงรัฐบาลและประชาชน

เชิงอรรถ :
(1) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, จดหมายที่ 53 

(2) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ธรรมเทศนาที่ 216
(3) ฆุร่อรุ้ลฮิกัม, หน้า 797
(4) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 70, หน้า 295
(5) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, วิทยปัญญาที่ 83

เรียบเรียง : ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม