foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

อิทธิพลสงครามสื่อตะวันตก สู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ การล่มสลายของบรรดาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่มีให้เห็นมากมาย สาเหตุสำคัญต่อการล่มสลายนั้นเกิดจากหลายกรณี ซึ่งอำนาจและแรงกระตุ้นจากภายนอกก่อให้เกิดอิทธิพลทางการเมืองและความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมนั้นเป็นผลให้เกิดปัจจัยการล่มสลายขึ้นได้เช่นกัน

        ประวัติศาสตร์หลายพันปีของมนุษยชาติเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และสงครามแย่งชิงอำนาจ เรื่องราวที่บรรดาอาณาจักรที่ทรงพลังก่อตัวขึ้นและหลังจากระยะเวลาหนึ่งผ่านไปก็ล่มสลายลง

        ตัวอย่างเช่น สามารถที่จะชี้ถึงจักรวรรดิอะคีเมนิด, จักรวรรดิโรมันในยุโรป, จักรวรรดิโปรตุเกสและสเปนในศตวรรษที่ 15 เป็นต้น บรรดาประเทศมหาอำนาจที่หลังจากปกครองมาหลายปีด้วยเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ ก็จะประสบกับการล่มสลายจากภายในและกลายเป็นประวัติศาสตร์

        หนึ่งในมหาอำนาจเหล่านี้ คือ สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตเกิดขึ้นจากการปฏิวัติในเดือนตุลาคม ค.ศ.  1917  (พ.ศ. 2460) โดยกลุ่ม "บอลเชวิค" นำโดย "วลาดิมีร์ เลนิน" ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะกาลของผู้สืบทอดของจักรวรรดิรัสเซีย และยึดพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพแดงที่อังกฤษหนุนหลัง สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1922  ประเทศนี้เป็นมหาอำนาจของโลกอย่างไร้ข้อโต้แย้งจนถึงปี 1991 เมื่อประเทศได้ล่มสลาย

        ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้น มีประเทศหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่มีบทบาทหลัก นั่นคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งผ่านแผนการทางการเมืองโดยใช้ความขัดแย้งภายในและการแทรกซึมเข้าไปในหน่วยงานสำคัญต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสงครามเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และการคว่ำบาตรมีบทบาทสำคัญในการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

       ในประเด็นนี้ จะขอกล่าวถึงเหตุผลบางประการจากคำพูดของท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเกี่ยวกับสาเหตุการล่มสลายของสหภาพโซเวียต :

1- พันธมิตร : พันธมิตรของประเทศตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญในการล่มสลายครั้งนี้ เพราะพวกเขาเห็นว่าสหภาพโซเวียตเป็นอุปสรรคใหญ่ในการครอบครองโลก เป็นประเด็นที่ท่านผู้นำสูงสุดได้เน้นย้ำและกล่าวว่า : ตะวันตกและยุโรปทั้งหมดร่วมมืออย่างแข็งขันกับอเมริกาในด้านนี้ (1)

2- ปัจจัยภายใน : อีกประเด็นหนึ่งคือการใช้ตัวแทนภายในโซเวียต เหตุผลหนึ่งในการใช้กลุ่มผู้ต่อต้านและผู้แทรกซึมจากภายในโซเวียต ในปี ค.ศ. 1917 นั้น รัฐบาลอเมริกันได้ส่งทหารหนึ่งหมื่นนายไปยังรัสเซียเพื่อช่วยประเทศนี้ในสงคราม และพวกเขาได้ประจำการอยู่ในประเทศนี้เป็นเวลาสามปี แม้ว่ากองกำลังเหล่านี้จะถูกขับไล่ออกจากรัสเซีย แต่อิทธิพลที่มีต่อแวดวงการเมืองได้เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้ (2) ในอีกด้านหนึ่ง การใช้อิทธิพล (ตัวแปรเสริม) อื่นๆ เช่น ความยากจนทางเศรษฐกิจ แรงกดดันต่อประชาชน การทุจริตในการบริหาร ฯลฯ มีผลอย่างมากต่อการล่มสลายนี้

3- สงครามสื่อ : อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลที่สุดคือสงครามสื่อของตะวันตกที่กระทำต่อสหภาพโซเวียต ซึ่งดำเนินการโดยอาศัยการโฆษณา หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ ฯลฯ ท่านผู้นำสูงสุดได้กล่าวเกี่ยวกับปัจจัยนี้ว่า : หากใครได้คำนวณ เขาจะเห็นว่าประมาณห้าสิบหกสิบเปอร์เซ็นต์นั้น เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของสื่อและเครื่องมือทางวัฒนธรรม (3)

        ในประเด็นนี้ "กอร์บาชอฟ" เป็นคนหนุ่มที่มีสติปัญญาซึ่งใส่คำขวัญสองคำไว้ในวาระการดำเนินงานของเขา คือ คำขวัญ "เปเรสทรอยกา" (Perestroika) และ "กลัสนอสต์" (Glasnost) (4) ความหมายของคำขวัญแรก คือการฟื้นฟูและการปฏิรูปเศรษฐกิจ และความหมายของคำขวัญที่สองคือการปฏิรูปสังคม เสรีภาพในการพูด ฯลฯ

        ในกรณีของคำขวัญแรก ชาวอเมริกันที่ปฏิเสธทุกความก้าวหน้าในสหภาพโซเวียต เพื่อที่จะดึงดูดความเชื่อมั่นจากกอร์บาชอฟ ได้นำเสนอการวิเคราะห์ โน้มน้าว ชี้นำ และสนับสนุนแผนการปฏิรูปของกอร์บาชอฟผ่านสื่อต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์อย่างเช่น "Michael Branstam", "Michael Elman" และ "Vladimir Kontorovich" เชื่อว่า "เปเรสทรอยกา ได้ปลดปล่อยพลังงานของผู้ประกอบการ แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่เศรษฐกิจสร้างตลาดใหม่ ผู้ประกอบการตามสไตล์ของโซเวียตทำให้สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจของรัฐหมดไปและส่งออกทรัพยากรอันมีค่าในรูปของเงินดอลลาร์ ปูทางไปสู่การโจรกรรมโดยกลุ่มคณาธิปไตย" (5)

        หลังจากนั้นไม่นาน อเมริกาใช้นโยบายของ "เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนยส์" (Edward Louis Bernays) มาใช้เป็นแบบจำลองสำหรับสงครามเชิงวัฒนธรรมและอุดมการณ์กับรัสเซีย ที่เรียกว่า "วิศวกรรมแห่งความไม่พอใจ" ในแบบจำลองนี้ เขาใช้พลังอิทธิพลของสื่อและภาพยนตร์ เขาส่งเสริมลัทธิบริโภคนิยมและโฆษณาวิถีชีวิตแบบตะวันตก และปลูกฝังความไม่พอใจในชีวิตของชาวโซเวียต ซึ่งทำให้วัฒนธรรมโซเวียตเสื่อมโทรมอย่างแท้จริง (6) สัญลักษณ์ของเสื้อผ้าและแมคโดนัลด์เป็นตัวอย่างของสงครามวัฒนธรรมนี้

       ในขณะเดียวกัน ด้วยการสนับสนุนและโฆษณาชวนเชื่อของบุคคลชื่อ "เยลต์ซิน" ซึ่งตะโกนว่า "คำขวัญเหล่านี้ไร้ประโยชน์และการปฏิรูปดำเนินการช้า" ฯลฯ เขาถูกนำเสนอในฐานะนักปฏิรูปที่ถูกกดขี่และทำให้ประชาชนกระตือรือร้นและหันไปนิยมเขามากขึ้น ต่อจากนั้นก็ก่อการรัฐประหารขึ้นในสหภาพโซเวียต และด้วยการสร้างความโกลาหลทางด้านสื่อ มีการประกาศว่าเยลต์ซินได้จับกุมบรรดาผู้วางแผนการรัฐประหารได้ในขณะที่หลับอยู่ และการรัฐประหารสิ้นสุดลงแล้ว แต่ไม่มีการเผยแพร่ข่าวความจริงใดๆ

        การดำเนินการนี้ทำให้เยลต์ซินกลายเป็นบุรุษหมายเลขหนึ่งและกอร์บาชอฟกลายเป็นบุรุษหมายเลขสองของประเทศไป ด้วยเหตุนี้ เพื่อที่จะถอนตัวออกจากเยลต์ซิน เนื่องจากแรงกดดันด้านการโฆษณาชวนเชื่อ เขาจำเป็นต้องใช้คำขวัญต่างๆ ของเยลต์ซินหรือปฏิบัติตามเขา สิ่งนี้เองนำไปสู่การลาออกของกอร์บาชอฟ และการสลายตัวของสหภาพโซเวียต

        ตามคำกล่าวของท่านผู้นำสูงสุด เป้าหมายของสงครามสื่อของตะวันตกคือ การทำให้สหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศที่สาม เหมือนกับบราซิล แต่เนื่องจากมีประชาชนที่แข็งแกร่ง ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ปรมาณู ฯลฯ เป้าหมายนี้จึงไม่ประสบผลสำเร็จและประเทศรัสเซียที่ทรงอำนาจก็ได้ก่อตัวขึ้นมา (7)

         ด้วยเหตุนี้ คำขวัญต่างๆ อย่างเช่น การปฏิรูปในทันที การเผยแพร่ข่าวการขาดความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ความรู้ที่ไร้ประโยชน์ เช่น นาโน นิวเคลียร์ ฯลฯ คือสงครามสื่อของศัตรูเพื่อการล่มสลายของประเทศต่างๆ นี่ก็เป็นทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้เกี่ยวกับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านด้วยเช่นกัน


แหล่งอ้างอิง :

[1]. https://b2n.ir/p86661

[2]. https://b2n.ir/t25730

[3]. https://b2n.ir/p86661

[4]. แหล่งอ้างอิงเดิม

[5]. https://b2n.ir/t48963

[6]. https://b2n.ir/r74450

[7]. https://b2n.ir/p86661


ที่มา : อันดีเชะฮ์บัรตัร

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม