foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

Get Adobe Flash player

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

เรื่องราวปาฏิหาริย์อาหารแห่งสวรรค์ ณ บ้านของอิมามอะลี (อ.)

ในวันที่ 25 ซุลฮิจญะฮ์ ซูเราะฮ์อัลอินซาน (ฮัล อะตา) ได้ถูกประทานลงมาในสถานะของท่านอิมามอะลี (อ.)  ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ท่านอิมามฮะซัน (อ.) และท่านอิมามฮุเซน (อ.) และเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งนี้ได้เกิดขึ้นหลังจากสามวันของการถือศีลอดของพวกท่านและการให้อาหารแก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึกโดยที่ในวันนั้นอาหารสวรรค์ได้ถูกประทานลงมาให้ท่านเหล่านั้นด้วย

      ท่านอิมามฮะซัน (อ.) และท่านอิมามฮุเซน (อ.) ในขณะวัยเด็กได้ป่วยและท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) พร้อมกับซอฮาบะฮ์ (สาวก) สองคนของท่านได้ไปเยี่ยมบุคคลทั้งสอง สาวกคนหนึ่งเอ่ยกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า : “เป็นการดีทีเดียวหากท่านจะบนบาน (นัซร์) ต่อพระผู้เป็นเจ้าเพื่อการเยียวยาบุตรชายทั้งสองของท่าน”

      ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “ฉันบนบานว่าหากเขาทั้งสองคนหายป่วย ฉันจะถือศีลอดสามวัน” ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ก็กล่าวเช่นนี้ ท่านอิมามฮะซัน (อ.) และท่านอิมามฮุเซน (อ.) ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า : “เราก็จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน ด้วยเช่นกัน และฟิฎเฎาะฮ์คนรับใช้ของพวกท่านก็ได้บนบานแบบเดียวกันนี้

      หลังจากนั้นไม่นานนักท่านอิมามฮะซัน (อ.) และท่านอิมามฮุเซน (อ.) ก็หายป่วย บุคคลทั้งหมดก็ได้ปฏิบัติตามคำบนบาน (นัซร์) ของตนด้วยการถือศีลอด แต่เมื่อครั้นถึงเวลาละศีลอดในบ้านกลับไม่มีอาหารอะไรเลยสำหรับการละศีลอด

      ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไปหาเพื่อนบ้านชาวยิวคนหนึ่งของท่าน เขาเป็นช่างทอผ้าขนสัตว์และมีนามว่า “ชัมอูน” ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวกับเขาว่า : “ท่านพร้อมที่จะให้บุตรีของมุฮัมมัดปั่นกรอด้ายขนสัตว์จำนวนหนึ่งให้แก่ท่านเพื่อแลกกับข้าวบาร์เลย์ปริมาณหนึ่งเป็นค่าตอบแทนหรือไม่?”

     ชัมอูนกล่าวว่า : “ได้ซิ!” แล้วเขาก็มอบด้ายขนสัตว์จำนวนหนึ่งแก่ท่าน

     ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้ปั่นกรอหนึ่งในสามของด้ายขนสัตว์นั้นและรับเอาข้าวบาร์เลย์จำนวนหนึ่งซออ์ (ภาชนะตวง) จากชัมอูน และได้โม่ข้าวบาร์เลย์ให้เป็นแป้งเพื่อจะทำขนมปังให้ได้ห้าชิ้นสำหรับบุคคลห้าคน

      ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ทำมนาซมัฆริบร่วมกับท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) และได้กลับไปยังบ้าน ท่านได้นั่งลงตรงสำรับอาหารและบุคคลทั้งห้าก็ได้นั่งลง ณ สำรับอาหาร ในขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ฉีกอาหารชิ้นแรกเพื่อรับประทาน ทันใดนั้นเอง คนยากจนผู้หนึ่งได้เคาะประตูบ้านและกล่าวว่า : “ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน โอ้อะฮ์ลุลบัยติ์ของมุฮัมมัด ข้าพเจ้าเป็นชาวมุสลิมที่ยากจน ได้โปรดแบ่งปันอาหารที่พวกท่านกินให้ข้าพเจ้าได้กินด้วยเถิด ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานเนี๊ยะอ์มัต (ปัจจัยอำนวยสุข) แห่งสวรรค์ให้แก่พวกท่านด้วยเถิด"

      ทุกคนในบ้านได้มอบขนมปังทั้งห้าชิ้นให้แก่คนยากจน ในคืนนั้นบุคคลทั้งห้าได้นอนในสภาพที่หิวโหยและไม่ได้รับประทานสิ่งใดนอกจากน้ำ

      วันรุ่งขึ้นพวกท่านก็ได้ถือศีลอดอีกเป็นวันที่สอง ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้ปั่นกรอด้ายขนสัตว์หนึ่งในสามส่วนและได้ค่าตอบแทนเป็นข้าวบาร์เลย์หนึ่งซออ์ และท่านได้นำไปโม่เป็นแป้งและทำขนมปังห้าชิ้น หลังจากการนมาซมัฆริบ ทันทีที่พวกท่านนั่งลงที่สำรับอาหาร เด็กกำพร้าก็ได้เคาะประตูบ้านและกล่าวว่า : “ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน โอ้อะฮ์ลุลบัยติ์ของมุฮัมมัด ข้าพเจ้าเป็นเด็กกำพร้าชาวมุสลิม ได้โปรดแบ่งปันอาหารที่พวกท่านกินให้ข้าพเจ้าได้กินด้วยเถิด ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานอาหารแห่งสวรรค์ให้แก่พวกท่านด้วยเถิด" ในคืนนั้นบุคคลทั้งห้าก็ได้นอนในสภาพที่หิวโหยเช่นเคยโดยไม่ได้รับประทานสิ่งใดนอกจากน้ำ

      ในวันรุ่งขึ้นเหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดียวกับสองวันแรก แต่ครั้งนี้เชลยศึกชาวมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี) ได้มาเคาะประตูบ้านและกล่าวว่า : “ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน โอ้อะฮ์ลุลบัยติ์ของมุฮัมมัด พวกท่านได้จับเราเป็นเชลยศึก และล่ามโซ่ตรวนพวกเรา พวกท่านจะไม่ให้อาหารแก่พวกเราบ้างหรือ?” ในคืนนั้นบุคคลทั้งห้าก็ได้ให้อาหารแก่เชลยศึกผู้นั้น และได้ละศีลอดด้วยน้ำและนอนหลับในสภาพที่หิวโหย

      วันรุ่งขึ้นท่านอิมามอะลี (อ.) ได้พาท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ.) ไปพบท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ)  บุคคลทั้งสามมีอาการสั่นเทาเนื่องจากความหิวโหย ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) เมื่อเห็นสภาพของพวกท่านจึงกล่าวว่า : “โอ้อบัลฮะซัน สภาพของพวกเจ้าทำให้ฉันไม่สบายใจอย่างยิ่ง เราจงไปยังฟาฏิมะฮ์ ลูกสาวของฉันกันเถิด” บุคคลทั้งหมดได้ไปยังท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) และได้พบว่านางอยู่ในมิห์ร๊อบ (สถานที่ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้า) และมีสภาพที่อิดโรยอย่างรุนแรงเนื่องจากความหิวโหย และดวงตาทั้งสองของนางนั้นขอบคล้ำ

      ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้โอบกอดนางไว้แนบกับอกและกล่าวว่า : "ฉันขอความคุ้มครองต่อพระผู้เป็นเจ้า พวกเจ้าหิวมาสามวันแล้วซินะ!"

      ญิรออีล (อ.) ได้ลงมาและกล่าวว่า : "โอ้มุฮัมมัด จงรับสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงจัดเตรียมสำหรับท่านเกี่ยวกับอะฮ์ลุลบัยติ์ไว้ด้วยเถิด" ท่านศาสดากล่าวว่า : “มันคืออะไร?”

      ญิบรออีล (อ.) ทูตสวรรค์ ได้อ่านโองการส่วนแรกของบท (ซูเราะฮ์) ฮัลอะตา (อัลอินซาน)  จนกระทั่งถึงโองการที่กล่าวว่า :

إِنَّ هَٰذَا کَانَ لَکُمْ جَزَاءً وَکَانَ سَعْیُکُمْ مَشْکُورًا

“แท้จริง (สวรรค์) นี้คือ รางวัลตอบแทนสำหรับ (การกระทำของ) พวกเจ้า และความอุตสาห์พยายามของพวกเจ้า (ในหนทางของการภักดีต่อพระเจ้า) นั้นเป็นที่ยอมรับแล้ว” (1)

บทเรียนที่สามารถรับรู้ได้จากเหตุการณ์นี้ :

ก.ความบริสุทธิ์ใจ

      เหตุผลของการพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานซูเราะฮ์ (บท) หนึ่งลงมาในเรื่องของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) นั้น เกิดจากความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาศ) ในระดับที่สูงส่งของพวกท่านที่กระทำด้วยความมุ่งหวังความพึงพอใจของพระผู้เป็นเจ้าเพียงเท่านั้น โดยไม่มีเป้าหมายหรือจุดประสงค์อื่นใดนอกจากเพียงเพื่อพระองค์ ด้วยเหตุนี้เองพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงชี้ถึงสิ่งนี้ไว้ในซูเราะฮ์ (บท) อัลอินซาน ด้วยคำว่า عَلى حُبِّهِ (ด้วยความรักที่มีต่อพระองค์ ) และ لِوَجْهِ اللَّهِ (เพื่อพระพักตร์ของพระองค์) :

وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى حُبِّهِ مِسْکِیناً وَ یَتِیماً وَ أَسِیراً، إِنَّما نُطْعِمُکُمْ لِوَجْهِ اللَّهِ لانُرِیدُ مِنْکُمْ جَزاءً وَ لا شُکُوراً

“และพวกเขาได้ให้อาหารแก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก ด้วยความรักที่มีต่อพระองค์ (พวกเขากล่าวว่า) แท้จริงเราให้อาหารแก่พวกท่าน โดยหวังความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ เรามิได้หวังการตอบแทนและการขอบคุณจากพวกท่านแต่ประการใด แท้จริงเรากลัวต่อพระผู้อภิบาลของเรา ในวันซึ่งใบหน้าทั้งหลายมีแต่ความบึ้งตึงและความทุกข์ยาก” (2)

ข.ความเสียสละ

      ผู้มีเกียรติเหล่านั้น ทั้งๆ ที่เป็นผู้ถือศีลอด มีความหิวกระหายและมีความต้องการอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่สองและวันที่สาม แต่ในขณะเดียวกันพวกท่านกลับให้ความสำคัญต่อผู้อื่นมากกว่าตัวเองและให้อาหารแก่บุคคลเหล่านั้นในขณะที่ตนเองก็มีความจำเป็นต่ออาหารดังกล่าว ดังที่คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า :

ویُؤْثِرُونَ عَلى أَنْفُسِهِمْ وَ لَوْ کانَ بِهِمْ خَصاصَةٌ

“และพวกเขาเสียสละให้แก่ผู้อื่นก่อนตัวเอง ถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอย่างมากก็ตาม” (3)

      และสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังและความยิ่งใหญ่ทางด้านจิตวิญญาณของพวกท่าน ในขณะที่ความต้องการอาหารของพวกท่านอยู่ในขั้นวิกฤต แต่ก็เลือกที่จะเสียสละให้แก่ผู้อื่นก่อน

ค.การบริจาค

      การบริจาคจะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นก็ต่อเมื่อสิ่งที่บริจาคนั้นเป็นสิ่งผู้เป็นเจ้าของรักและมีความผูกพันต่อมันและตามสำนวนของคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวว่า :

لَنْ تَنالُوا الْبِرَّ حَتَّى تُنْفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ وَ ما تُنْفِقُوا مِنْ شَیْ ءٍ فَإِنَّ اللَّهَ بِهِ عَلیمٌ

“พวกเจ้าจะยังไม่บรรลุสู่คุณธรรม จนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้ารัก และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคไป แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้ยิ่งในสิ่งนั้น” (4)

      และตัวอย่างที่ชัดเจนของการบริจาคในลักษณะเช่นนี้สามารถที่จะเห็นได้เป็นอย่างดีในเหตุการณ์นี้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่งทรงตรัสว่า :

لِیَبْلُوَکُمْ أَیُّکُمْ أَحْسَنُ عَمَلا

“เพื่อพระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าว่าใครในหมู่พวกเจ้าที่มีการกระทำที่ดีเยี่ยมที่สุด” (5)

     ในเหตุการณ์ที่กล่าวไปข้างต้น แม้ว่าอาหารเหล่านั้นในแง่ของปริมาณแล้วไม่ได้มากมายแต่ประการใด แต่เนื่องจากคุณค่าทางจริยธรรมที่สูงส่งอันได้แก่ ความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาศ) ความเสียสละ (อีษาร) และการบริจาคหรือการมอบให้ในทางของพระผู้เป็นเจ้า (อินฟาก) จึงเป็นเหตุทำให้อัลกุรอานบท (ซูเราะฮ์) หนึ่งได้ถูกประทานลงมาในสถานะของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.)


เชิงอรรถ :

1.อัลกุรอานบทอัลอินซาน โองการที่ 1 ถึง 22

2.อัลกุรอานบทอัลอินซาน โองการที่ 8, 9 และ 10

3.อัลกุรอานบทอัลฮัชร์ โองการที่ 9

4.อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 92

5.อัลกุรอานบทฮูด โองการที่ 7


แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม